หวั่นอุตฯไทยซบเพื่อนบ้านเจอแรงงานด้อยฝีมือ

นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้ติดตามสถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการหาทางออกไปขยายการลงทุนไปในประเทศเพื่อนบ้านที่ต้นทุนแรงงานต่ำกว่าไทย เช่น กัมพูชา แต่อยากให้ระวังปัญหาการผลิตจำนวนสินค้าที่ค่อนข้างต่ำ เช่น กัมพูชา ชั่วโมงการทำงานที่เท่ากัน แรงงานกัมพูชา 1 คน ผลิตเสื้อได้จำนวนน้อยกว่าแรงงานเวียดนาม 2 เท่า และน้อยกว่าแรงงานไทย 4-5 เท่า และไม่นับรวมคุณภาพของสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการควรนำมาพิจารณาด้วย

 


นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้ติดตามสถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย  ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการหาทางออกไปขยายการลงทุนไปในประเทศเพื่อนบ้านที่ต้นทุนแรงงานต่ำกว่าไทย เช่น กัมพูชา แต่อยากให้ระวังปัญหาการผลิตจำนวนสินค้าที่ค่อนข้างต่ำ เช่น กัมพูชา ชั่วโมงการทำงานที่เท่ากัน แรงงานกัมพูชา 1 คน ผลิตเสื้อได้จำนวนน้อยกว่าแรงงานเวียดนาม 2 เท่า และน้อยกว่าแรงงานไทย 4-5 เท่า และไม่นับรวมคุณภาพของสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการควรนำมาพิจารณาด้วย

ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับการตั้งฐานการผลิตในประเทศ และหันไปยกระดับการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อหนีกลุ่มประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานราคาต่ำและผลิตจำนวนมากๆ โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทย มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้นโดยตลอด จากการออกแบบและการพัฒนาคุณภาพสินค้า ซึ่งจะเห็นได้จากราคาส่งออกต่อหน่วยของเครื่องนุ่งห่มไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ตอนนี้เป็นเรื่องท้าทาย ที่ผู้ประกอบการต้องเร่งพัฒนา เพราะมูลค่าการส่งออกเริ่มลดลงเรื่อยๆ เมื่อปี 55 มูลค่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มก็ลดลงเหลือ 2,950 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปกติอยู่ที่ 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ 5 เดือนแรกของปีนี้ ก็ลดลง 4.7%   โดยส่วนแบ่งในตลาด ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ เช่น ตลาดสหรัฐฯ ส่วนแบ่งตลาดล่าสุดเหลืออยู่ 1.42% เมื่อเทียบกับจีนที่มีส่วนแบ่ง 38.11% และต่ำกว่าหลายประเทศในอาเซียน เช่น เวียดนามที่มีส่วนแบ่ง 9.02% อินโดนีเซีย 6.36% และกัมพูชา 3.27% ส่วนในสหภาพยุโรปไทยมีส่วนแบ่งอยู่ 0.67% ต่ำกว่าเวียดนาม 1.82%และกัมพูชา มีส่วนแบ่งที่ 1.37%”

NEWS & TRENDS