สนพ.วางแผนผลักดัน SMEs ประหยัดพลังงาน

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ถกวิชาการมาตรการอุดหนุนผลการ ประหยัดพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือไทย-เยอรมัน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ร่วมผลักดันนโยบายอนุรักษ์พลังงานและวางยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดการใช้พลังงาน 25% ในปี 2573 โดยเจาะกลุ่ม SMEs จะอุดหนุน ด้านการเงิน เพื่อประหยัดพลังงานในอาคารและโรงงาน

 


สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ถกวิชาการมาตรการอุดหนุนผลการ ประหยัดพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือไทย-เยอรมัน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ร่วมผลักดันนโยบายอนุรักษ์พลังงานและวางยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดการใช้พลังงาน 25% ในปี 2573 โดยเจาะกลุ่ม SMEs จะอุดหนุน ด้านการเงิน เพื่อประหยัดพลังงานในอาคารและโรงงาน

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวย การสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน (TGP-EEDP) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการบูรณาการแผนอนุรักษ์ พลัง งาน 20 ปี เพื่อผลักดันนโยบายอนุรักษ์พลังงานให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในภาคอุตสาหกรรมและ ภาคอาคารธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจก จึงมีการจัดงาน สัมมนาวิชาการเรื่อง "มาตรการอุดหนุน ผลการประหยัดพลังงาน (Standard Offer Programme : SOP)" ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการฯ ที่ดำเนินไปในแนวทางที่สอดคล้อง กับแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี โดยมีเป้าหมายในการลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานลงร้อยละ 25 ในปี 2573 เมื่อเทียบกับปี 2553

SOP เป็นแนวทางหนึ่งภายใต้มาตรการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อสนับสนุนให้เกิดผลการประหยัดพลังงานสำหรับธุรกิจรายย่อย (SMEs) ในภาคอาคารและอุตสาหกรรมที่มีข้อจำกัดด้าน การลงทุนและบุคลากร ซึ่งหากผลักดันมาตรการดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจัง และคาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงานในอาคาร และโรงงานขนาดย่อมได้ประมาณ 5,800 ktoe ตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี

ด้านดร.มิลู เบรีโพท ผู้อำนวยการ โครงการฯ องค์กรความร่วมมือระหว่าง ประเทศเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า การจัดงาน SOP ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา เครื่องมือด้านการอนุรักษ์พลังงาน เป็นมาตรการสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการประหยัดพลังงานสำหรับผู้ใช้รายย่อย และอุตสาหกรรมขนาดเล็กให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน โครงการฯ ได้เชิญนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์การดำเนินมาตรการ SOP ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมนี เดนมาร์ก และประเทศอื่นๆ นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เข้าร่วมได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องแนวทางการพัฒนารูปแบบมาตรการ SOP ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนมาตรการดังกล่าวสำหรับประเทศไทยต่อไป

ที่มา : สยามธุรกิจ

NEWS & TRENDS