นายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการ สำนักประสานงานและบริหารโครงการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)เปิดเผยว่า ที่จังหวัดอุดรธานี ในการที่จะเดินทางไปร่วมงานสัมมนา"โครงการพัฒนาผู้ประกอบการตามแนวพระราชดำริ หลักสูตรความรู้เบื้องต้นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์,ความรู้เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ขั้นต้น และปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กราฟิก และความรู้เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อการรองรับการพัฒนาเข้าสู่ AEC
นายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการ สำนักประสานงานและบริหารโครงการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)เปิดเผยว่า ที่จังหวัดอุดรธานี ในการที่จะเดินทางไปร่วมงานสัมมนา"โครงการพัฒนาผู้ประกอบการตามแนวพระราชดำริ หลักสูตรความรู้เบื้องต้นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์,ความรู้เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ขั้นต้น และปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กราฟิก และความรู้เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อการรองรับการพัฒนาเข้าสู่ AEC
โดยงานนี้ได้ร่วมกับสมาคมการพิมพ์ไทย และศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์รุ่นใหม่ เพื่อสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ยกระดับมาตรฐานสินค้าของผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558
"ที่ผ่านมาได้จัดสัมมนาแบบนี้ในหลายจังหวัด อาทิ พะเยา แพร่ สุราษฎร์ธานี สำหรับอุดรธานี เป็นแหล่งผลิตสินค้าชุมชนมากในหลายแขนงที่สำคัญได้แก่ สินค้าประเภทหัตถกรรม เช่น ผ้าฝ้าย ผ้ามัดหมี่ เสื่อกก ฯลฯ แต่ยังขาดรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถจูงใจผู้ซื้อ" นายวชิระกล่าวและว่า โครงการนี้สสว.ได้เริ่มทำมา 4-5 ปีแล้ว เพราะมองเห็นว่าเรื่องหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญ ดังจะเห็นได้จากสินค้าโอท็อปญี่ปุ่น ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เราจึงอยากจะช่วยผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการผลิตสินค้าชุมชน
อย่างไรก็ตามปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าชุมชนของไทย คือ งบประมาณ ทำให้ สสว.ไม่สามารถดำเนินการพัฒนาได้ทั่วถึงเนื่องจากว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 2.2 ล้านรายเศษ และผู้ประกอบการโอท็อปอีกจำนวนหลายแสนราย ดังนั้นทางสสว.จึงหันมาใช้การสร้างเครือข่ายเพื่อนำเอาไปกระจายต่อซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้มากกว่าที่ผ่านมา
"แต่ละปีเราสามารถให้การอบรมได้เพียงแค่ 1 พันรายเท่านั้น ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบการที่มีกว่า 2.2 ล้านราย ซึ่งต่างกับในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้ปีละกว่าหมื่นล้านบาท ในขณะที่ประเทศไทยจัดสรรให้ปีละไม่เกิน 1 พันล้านบาทซึ่งถือว่าน้อยมาก " นายวชิระกล่าว
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ