สสว.ขึ้นเหนือจัดโครงการหนุนดอกเบี้ย SMEs

นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นของ สสว. และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ ได้เข้าถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ ดังนั้น สสว. จึงได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่รายละเอียดของโครงการ โดยขัดขึ้นครั้งแรกที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งก้ได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการ SMEs และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs พื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลก ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร และพิจิตร ได้รับรู้และสามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งมีจำนวนผู้ประกอบการ SMEs

 


นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นของ สสว. และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ ได้เข้าถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ ดังนั้น สสว. จึงได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่รายละเอียดของโครงการ โดยขัดขึ้นครั้งแรกที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งก้ได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการ SMEs และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs พื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลก ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร และพิจิตร ได้รับรู้และสามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งมีจำนวนผู้ประกอบการ SMEs

“เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นศูนย์กลางของพื้นที่ภาคเหนือ ที่เป็นทั้งศูนย์รวมเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการจ้างงาน โดยมีจำนวนผู้ประกอบการ SMEs รวม 93,235 ราย มีการจ้างงาน 343,497 คน และเมื่อพิจารณาถึงตัวเลขผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งมีจำนวนถึง 466,300 ราย มีการจ้างแรงงาน กว่า 1,700,000 คน สสว. จึงเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคเหนือ ให้สามารถลดภาระต้นทุนด้านการผลิต ช่วยรักษาสภาพการจ้างงานให้คงอยู่ ซึ่งจะหมายถึงการสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ให้เติบโตและยั่งยืนต่อไป”

สำหรับ โครงการสนับสนุนดอกเบี้ยแก่ SMEs เพื่อลดผลกระทบจากการปรับค่าจ้างแรงงาน ในอัตรา 300 บาทต่อวัน จะเป็นการชดเชยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ของวงเงินสินเชื่อ วงเงินกู้ยืมไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท ระยะเวลา 1 ปี ให้กับผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย และอยู่ใน 12 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มธุรกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะประดิษฐ์ กลุ่มธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหาร  กลุ่มธุรกิจผลิตไม้ ผลิตภัณฑ์จากไม้และไม้ก๊อก กลุ่มธุรกิจการก่อสร้าง กลุ่มธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
และผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มธุรกิจการขายปลีก กลุ่มธุรกิจโรงแรมและที่พักชั่วคราว กลุ่มธุรกิจการขนส่ง กลุ่มธุรกิจบำรุงรักษา ซ่อมแซมยานยนต์ และจักรยานยนต์ การขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ และกลุ่มธุรกิจการผลิตเครื่องเรือน รวมถึงธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และอัญมณีเครื่องประดับ

อย่างไรก็ดี สสว. จะดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่รายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ไปสู่ผู้ประกอบการ SMEs ครั้งที่ 3 จะจัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่ จ.อุบลราชธานี และครั้งที่ 4 จัดในพื้นที่ภาคใต้ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี

ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสนับสนุนดอกเบี้ยแก่ SMEs เพื่อลดผลกระทบจากการปรับค่าจ้างแรงงานในอัตรา 300 บาทต่อวัน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทุกสาขาของสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.sme.go.th

NEWS & TRENDS