หนี้เน่า SME Bank น่าห่วงแผนฟื้นฟูไม่เข้าเป้า

แหล่งข่าวจาก ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า การดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการของธนาคารในช่วงครึ่งปีแรกยังไม่ได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าจะมีกำไรสุทธิ (ณ สิ้น พ.ค. 56) ประมาณ 350 ล้านบาท โดย 5 เดือนแรก มียอดอนุมัติสินเชื่อประมาณ 3,700 ล้านบาท และยอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 9.4 หมื่นล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2555 ที่อยู่กว่า 9.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 3.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูง 33% ของสินเชื่อรวม หรือกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท

 


แหล่งข่าวจาก ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า การดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการของธนาคารในช่วงครึ่งปีแรกยังไม่ได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าจะมีกำไรสุทธิ (ณ สิ้น พ.ค. 56) ประมาณ 350 ล้านบาท โดย 5 เดือนแรก มียอดอนุมัติสินเชื่อประมาณ 3,700 ล้านบาท และยอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 9.4 หมื่นล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2555 ที่อยู่กว่า 9.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 3.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูง 33% ของสินเชื่อรวม หรือกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท

"ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้น้อย เน้นปล่อยสินเชื่อในโครงการสินเชื่อที่รัฐบาลชดเชย คือสินเชื่อเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน ขณะที่สินเชื่อเพื่อพัฒนาเครื่องจักรแทบไม่ได้ปล่อย แม้ว่าทั้ง 2 ตัวนี้ รัฐบาลชดเชยให้เหมือนกัน แต่จะเน้นปล่อยสินเชื่อสภาพคล่อง" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับตามแผนฟื้นฟูกิจการ ธพว. ตั้งเป้าปีนี้แก้ปัญหาหนี้เสีย 1.07 หมื่นล้านบาท หรือไตรมาสละ 3,000 ล้านบาท ซึ่งไตรมาสแรกแก้ไขได้ประมาณ 2,400 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา สามารถแก้หนี้เสียให้กลับเป็นหนี้ดี เพิ่มขึ้นมาเป็น 4,000 ล้านบาท แต่มีบางส่วนที่กลับเป็นหนี้เสียอีกรอบ 

ขณะที่ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ทำได้น้อย ส่งผลให้สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนที่อยู่ประมาณ 32%

แหล่ง ข่าวกล่าวอีกว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้แนะนำให้เอสเอ็มอีแบงก์ ขายทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นพีเอ) ให้ได้มากที่สุด ส่วนการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ที่กำลังดำเนินการนั้นจะมีการเกลี่ยพนักงานที่มีอยู่ไปทำส่วนติดตามหนี้มาก ขึ้น

ด้านนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ผลดำเนินงานปีนี้ของ ธพว.ถือว่าดีขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งคลังยังยืนยันเงื่อนไขเดิม คือ หากแก้ปัญหาไม่ได้ตามแผนก็จะไม่เพิ่มทุนให้ ดังนั้นในช่วงที่เหลือของปี ธพว.ต้องเร่งทำงานเต็มที่ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้ให้นโยบายกับคณะกรรมการธนาคาร ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงนายมนูญรัตน์ เลิศโกมลสุข กรรมการผู้จัดการคนใหม่ เกี่ยวกับภารกิจของ ธพว.และทิศทางดำเนินการจะมีประมาณ 3-4 เรื่อง อาทิ การเร่งแก้ปัญหากรณีคดีฟ้องร้องเรื่องของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ให้ได้ข้อสรุป การบริหารจัดการองค์กรที่ต้องปรับปรุงให้เสร็จ รวมไปถึงการคิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ที่ตรงความต้องการลูกค้า รวมถึงควรจะแตกต่างจากตลาดสินเชื่อทั่วไป การสร้างความเข้มแข็งให้ลูกค้ารายเก่า 

"ผมให้เขากลับมาเสนอภายในเดือน ก.ค.นี้ ผมเชื่อมั่นว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะบริหารงานไปในทิศทางเดียวกัน" นายทนุศักดิ์กล่าว 

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังใส่เงินเพิ่มทุนแล้ว 555 ล้านบาท ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) เพิ่มเป็นกว่า 4% ตามเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง จากสิ้นปีอยู่ที่ 3.28% และภายในสิ้นปีนี้ จะใส่เงินเพิ่มทุนให้อีก 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้งบประมาณปี 2557 

สำหรับ กรณีการปล่อยสินเชื่อช่วงที่ผ่านมาที่ออกมาต่ำนั้น นายทนุศักดิ์ยอมรับว่า ธพว.ได้ขอผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าว โดยชี้แจงว่า กระทรวงการคลังกำหนดเกณฑ์ไม่ให้ปล่อยกู้เกิน 15 ล้านบาทต่อราย และตีกรอบให้ปล่อยกู้รายย่อยในสัดส่วน 80% และรายใหญ่ไม่เกิน 20% ส่งผลให้ธนาคารสูญเสียลูกค้าบางส่วนไป แต่ก็พร้อมจะปลดล็อกให้ หากเสนอเหตุผลที่เหมาะสม และเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้ามาให้พิจารณา

ทั้ง นี้หลังนายมนูญรัตน์เข้ารับตำแหน่งใหม่ ได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ คือ สินเชื่อ Special SMEs วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท สำหรับลูกค้าชั้นดีที่ต้องการขยายกิจการหรือต้องการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยคิดดอกเบี้ย MLR ตลอดอายุโครงการ ระยะเวลากู้นานสูงสุดถึง 5 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้มีสินเชื่อ Small SMEs กู้ได้สูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย สำหรับเอสเอ็มอีรายย่อย ซึ่งสามารถผ่อนจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยนาน 1 ปี โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันตั้งวงเงิน 3,000 ล้านบาท โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะช่วยจ่ายชดเชยอัตราดอกเบี้ย 3% ในปีแรก


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

NEWS & TRENDS