กสอ. เผย 10 กลยุทธ์ SMEs เตรียมลุย AEC

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทำให้เกิดการสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยมีการเคลื่อนย้ายการผลิต การลงทุนแรงงานฝีมือ การค้าการบริการ และเงินทุนระหว่างประเทศเสมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด10 กลยุทธ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีแนวทางในการดำเนินการพร้อมนำไปสู่การขยายตลาด AEC ได้อย่างมีทิศทางและมีประสิทธิภาพดังนี้

 

 
                นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทำให้เกิดการสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยมีการเคลื่อนย้ายการผลิต  การลงทุนแรงงานฝีมือ การค้าการบริการ และเงินทุนระหว่างประเทศเสมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด10 กลยุทธ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีแนวทางในการดำเนินการพร้อมนำไปสู่การขยายตลาด AEC ได้อย่างมีทิศทางและมีประสิทธิภาพดังนี้

•              กลยุทธ์ที่ 1 เลือกประเทศในอาเซียนที่จะทำตลาด ในระยะเริ่มต้น SMEs ควรเลือกตลาดเป้าหมายให้สอดคล้องกับสินค้า   หลักที่ตนเองผลิตอยู่ โดยให้เลือกประเทศที่ประชาชนมีความเคยชินกับสินค้าประเภทเดียวกับที่ผู้ประกอบการมีอยู่เพื่อลด      ความเสี่ยงเรื่องการขายของไม่ได้ซึ่งทำให้ไม่ต้องแบกรับ          ต้นทุนในการผลิตที่สูงเกินไปอีกทั้งต้องแน่ใจว่าสินค้าของ               ผู้ประกอบการต้องมีความแตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่เดิมในตลาดของประเทศนั้น ๆเพื่อให้เกิดความน่าสนใจในตัวสินค้า

•              กลยุทธ์ที่ 2 ซื้อสินค้าจากประเทศเป้าหมายมาทดลองใช้ผู้ประกอบการควรที่จะได้ทดลองใช้สินค้าประเภทเดียวกันกับที่จะ                นำสินค้านั้นออกขายในกลุ่มประเทศเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจถึงจุดเด่นและจุดด้อยของสินค้าเหล่านั้นรวมถึงเป็น               แนวทางในการปรับปรุงสินค้าที่จะส่งไปขายให้มีความแตกต่างจากสินค้าของคู่แข่ง  นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการ   เข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ ด้วย

•              กลยุทธ์ที่ 3 ทำความเข้าใจกับกฎระเบียบของประเทศเป้าหมาย ถ้าผู้ประกอบการขาดความเข้าใจในกฎระเบียบของ          ประเทศที่จะทำการค้าด้วยนั้นซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในกระบวนการทำการตลาด รวมถึงใช้ระยะ              เวลานานกว่าทำให้โอกาสในการทำธุรกิจอาจเกิดอุปสรรคและปัญหาตามมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ถ้าผู้ประกอบการได้มีการ            เตรียมข้อมูลหรือศึกษาขั้นตอนการดำเนินการมาเป็นอย่างดีก็จะทำให้สามารถประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการส่ง        สินค้าเข้าไปทำการตลาดนั้นได้นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันการถูกหลอกจากบริษัทคู่ค้าและเจ้าหน้าที่ในประเทศนั้นๆ ได้อีกด้วย

•              กลยุทธ์ที่ 4 ริเริ่มใช้ภาษาอังกฤษในองค์กรภาษาอังกฤษนับเป็นภาษาที่มีบทบาทอย่างมากในการติดต่อทางธุรกิจระหว่าง  ประเทศ เนื่องจากเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งผู้ประกอบการควรจะส่งเสริมให้บุคลากรในบริษัทใช้    ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กรเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทักษะด้าน ภาษา และยังทำให้สะดวกในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารอีกทั้งยัง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

•              กลยุทธ์ที่ 5 สร้างและสรรหาบุคลากรที่สามารถใช้ภาษาของประเทศที่เป็นตลาดกลุ่มเป้าหมาย ถึงแม้ว่าจะใช้       ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสารระหว่างประเทศแต่การที่เรามีบุคลากรที่สามารถสื่อสารกับลูกค้าหรือคู่ค้า  ประเทศเป้าหมายที่ทำธุรกิจด้วยนั้นก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกอย่างมากในการเจรจาต่อรอง และการสร้าง ความสัมพันธ์ในทางธุรกิจซึ่งจะส่งผลให้การเจรจาเป็นไปได้อย่างราบรื่นขณะเดียวกันบุคลากรท่านนี้ก็จะสามารถพัฒนา ตนเองจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในประเทศนั้นๆ ได้ในอนาคต  

•              กลยุทธ์ที่ 6ชมโทรทัศน์และภาพยนตร์ของประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมาย สื่อที่ทรงอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อความคิดของคน                ในประเทศนั้นๆ มักจะสะท้อนออกมาในรูปแบบของละครหรือภาพยนตร์ที่ประเทศนั้น ๆ ผลิตขึ้นซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูล              พื้นฐานด้านการตลาดที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดในระยะเริ่มต้นได้ทำให้  เราสามารถทราบถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้งกว่าการนั่งอ่านผลวิจัยเพียงอย่างเดียว

•              กลยุทธ์ที่ 7 เดินทางไปประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมาย สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งก่อนส่งสินค้าไปจัดจำหน่ายยังตลาด              ต่างประเทศ คือการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นเป้าหมาย เพื่อสร้างโอกาสพูดคุยกับผู้ที่คาดว่าจะเป็นพันธมิตรของธุรกิจซึ่ง     อาจจะเป็นคู่ค้าและลูกค้าในอนาคตก็เป็นได้และสิ่งที่สำคัญเมื่อไปพบพันธมิตรธุรกิจก็ควรที่จะนำเอาสินค้าติดไม้ติดมือไป ด้วยทุกครั้งเพื่อเป็นการทดสอบตลาดในกลุ่มลูกค้า เป้าหมายได้อย่างทันทีหากมีขอเสนอแนะเราก็สามารถ  นำมาปรับปรุงสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น

•              กลยุทธ์ที่ 8 ทำความคุ้นเคยกับสื่อในประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมาย เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำ   ประชาสัมพันธ์อันจะเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดในประเทศนั้น ๆ ซึ่งมักจะปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และ      วิทยุหากผู้ประกอบการเรียนรู้และเข้าใจสื่อในประเทศเป้าหมายมากขึ้นเท่าไหร่นั่นแสดงถึงโอกาสความสำเร็จในการสร้าง     ตลาดของประเทศนั้น ๆ เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ได้ว่าจะเลือกใช้สื่อใดที่เหมาะสมในการจัดทำ    โฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามกลุ่มเป้าหมายของ   ผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง

•              กลยุทธ์ที่ 9 ใช้ Cyber Marketing การทำการตลาดออนไลน์ถือเป็นช่องทางการตลาดอีกหนึ่งช่องทางที่ผู้ประกอบการควร  ให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากสื่อออนไลน์เหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง และสามารถ         เพิ่มจำนวนลูกค้าได้อย่างไม่ยากนักรวมทั้งเป็นช่องทางการโฆษณาที่ประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก  เช่น การเข้ามา               กดไลค์ เพื่อแลกกับการนำสินค้าไปให้ทดลองใช้อีกทั้งยังทำให้เราได้เพื่อนใน Facebook เพิ่มขึ้นอีกด้วย

•              กลยุทธ์ที่ 10 ทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมในการทำธุรกิจของประเทศเป้าหมาย การทำความเข้าใจในวัฒนธรรมของ           ประเทศเป้าหมายนั้น มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากวัฒนธรรมของแต่และประเทศมีความแตกต่างกัน ฉะนั้น               ผู้ประกอบการจึงควรทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์        ของธุรกิจ เช่น นักธุรกิจมุสลิมในมาเลเซียไม่นิยมใช้นิ้วชี้แต่จะใช้นิ้วหัวแม่มือแทนซึ่งถ้าเราเกิดเผลอใช้นิ้วชี้ไปก็อาจจะทำ            ให้เกิดการขัดแย้งจนการเจรจาต่อรองทางการค้าอาจเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น

           

NEWS & TRENDS