SMEs ผลิตรองเท้าส่อเค้าเดี้ยงหนักยอดขายลดฮวบ 80%

นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มผู้ผลิตรองเท้าไทยในครึ่งปีหลัง ว่าจะประสบปัญหาการขาดทุนและปิดกิจการเพิ่มขึ้นหากภาวะเศรษฐกิจไทย และต่างประเทศไม่ดีขึ้นโดยช่วง 2–3 ปี ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้ทยอยปิดกิจการไปแล้วกว่า 2,000 ราย จากเดิมมีผู้ผลิตกว่า 4,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดกลางที่เน้นตลาดส่งออกและในประเทศเนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงไปมากกว่าครึ่ง ขณะที่ตลาดในประเทศยอดขายรองเท้าลดลงถึง 70% เทียบกับปีที่ผ่านๆ มา

 


นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มผู้ผลิตรองเท้าไทยในครึ่งปีหลัง ว่าจะประสบปัญหาการขาดทุนและปิดกิจการเพิ่มขึ้นหากภาวะเศรษฐกิจไทย และต่างประเทศไม่ดีขึ้นโดยช่วง 2–3 ปี ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้ทยอยปิดกิจการไปแล้วกว่า 2,000 ราย จากเดิมมีผู้ผลิตกว่า 4,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดกลางที่เน้นตลาดส่งออกและในประเทศเนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงไปมากกว่าครึ่ง ขณะที่ตลาดในประเทศยอดขายรองเท้าลดลงถึง 70% เทียบกับปีที่ผ่านๆ มา

“แรงซื้อคนไทยหายไปมากเนื่องจากคาดว่าภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นทำให้ถึงจุดที่ไม่สามารถจะใช้จ่ายได้อีก เมื่อผสมกับกระแสการเมืองทำให้เกิดจิตวิทยาทำให้เกิดการประหยัดเพิ่มเข้าไป เพราะไม่เชื่อมั่นต่อการบริโภคดังนั้นจึงมองว่าเป็นสัญญาณอันตรายที่รัฐบาลไม่ควรจะมองข้ามในครึ่งปีหลังที่จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐควรหาแนวทางกระตุ้นแรงซื้อในประเทศให้ได้ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจไทยจะถดถอยหนัก”

ทั้งนี้ผลพวงจากแรงซื้อคนไทยที่ถดถอยหนักส่งผลกระทบต่อการจัดงานแสดงสินค้าหรือแฟร์ต่าง ๆ ในประเทศค่อนข้างมากโดยล่าสุดทางสมาคมฯ มีการจัดงานแฟร์เพื่อกระตุ้นการขายรองเท้าและเครื่องหนังก็พบว่ายอดขายแต่ละร้านหายไป 80% จากอดีตผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยน้อยมาก และเมื่อสอบถามแฟร์อื่น ๆ พบว่าประสบปัญหาเช่นกันร้านต่าง ๆ ที่ไปร่วมแสดงสินค้าจำหน่ายไม่คุ้มค่าเช่า บางรายถึงขั้นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทำให้ผู้จัดงานแฟร์ครึ่งปีหลังจะต้องระมัดระวังเพราะเสี่ยงที่จะขาดทุนค่อนข้างสูง

สำหรับตลาดรองเท้าในประเทศพบว่า ราคาจำหน่ายที่พอจะระบายสินค้าออกได้เป็นคู่ละไม่เกิน 100 บาทหากเกินกว่านี้ตลาดค่อนข้างจำหน่ายยาก แม้จะมีการลดราคากว่า 60-70% เพราะประชาชนประหยัดการใช้จ่าย ขณะที่ตลาดส่งออกพบว่าแม้แต่รายใหญ่อย่างบริษัท แพนเอเชียฟุตแวร์ ยังต้องเลิกรับจ้างผลิต เพราะไม่สามารถบริหารเรื่องต้นทุนได้.

NEWS & TRENDS