นายชาวันย์ สวัสดิ์ชู-โต รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2556 พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ลดลงอยู่ที่ 43.3 จากระดับ 46.8 (ลดลง 3.5) โดยภาคค้าส่ง ภาคค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 46.4 44.6 และ 40.6 จากระดับ 49.1 45.9 และ 46.8 (ลดลง 2.7 1.3 และ 6.2) ตามลำดับ เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตน ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 36.2 และ 36.6 จากระดับ 44.6 และ 43.4 (ลดลง 8.4 และ 6.8) ตามลำดับ
นายชาวันย์ สวัสดิ์ชู-โต รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2556 พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ลดลงอยู่ที่ 43.3 จากระดับ 46.8 (ลดลง 3.5) โดยภาคค้าส่ง ภาคค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 46.4 44.6 และ 40.6 จากระดับ 49.1 45.9 และ 46.8 (ลดลง 2.7 1.3 และ 6.2) ตามลำดับ เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตน ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 36.2 และ 36.6 จากระดับ 44.6 และ 43.4 (ลดลง 8.4 และ 6.8) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาแต่ละประเภทกิจการ พบว่า ภาคค้าส่ง กิจการค้าส่งสินค้าเกษตร ค่าดัชนีปรับตัวลดลงมากที่สุด อยู่ที่ 45.7 จากระดับ 51.5 (ลดลง 5.8) ผลจากสถานการณ์ภาคการเกษตรปรับตัวลดลง ทั้งในเรื่องระดับราคาพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรที่ชะลอตัวลง ภาคค้าปลีก กิจการสถานีบริการน้ำมัน ค่าดัชนีลดลงมากที่สุดอยู่ที่ 45.4 จากระดับ 49.5 (ลดลง 4.1) ผลจากระดับราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ภาคบริการ กิจการด้านการขนส่งมวลชนและขนส่งสินค้า ค่าดัชนีลดลงมากที่สุดอยู่ที่ 35.4 และ 37.3 จากระดับ 49.7 และ 50.4 (ลดลง 14.3 และ 13.1) ผลจากการเศรษฐกิจในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ระดับราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ส่วนดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ พบว่า ค่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 46.2 จากระดับ 50.7 (ลดลง 4.5) โดยกิจการภาคค้าส่ง ภาคค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 48.4 44.8 และ 46.9 จากระดับ 52.9 50.7 และ 49.7 (ลดลง 4.5 5.9 และ 2.8) เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตน ที่ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 25.0 และ 40.6 จากระดับ 52.5 และ 50.7 (ลดลง 27.5 และ 10.1)
ส่วนผลการสำรวจดัชนีรายภูมิภาคในเดือนกรกฎาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2556 พบว่า มีค่าดัชนีลดลง โดยภูมิภาคที่มีค่าดัชนีลดลงมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ค่าดัชนีอยู่ที่ 39.7 จากระดับ 46.0 (ลดลง 6.3) รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก และภาคใต้ ค่าดัชนีอยู่ที่ 43.2 และ 38.2 จากระดับ 46.7 และ 41.7 (ทั้ง 2 ภูมิภาคค่าดัชนีลดลง 3.5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่าดัชนีอยู่ที่ 47.2 จากระดับ 49.3 (ลดลง 2.1) และภาคเหนือ ค่าดัชนีอยู่ที่ 48.6 จากระดับ 50.3 (ลดลง 1.7)
ทั้งนี้ แม้ว่าค่าดัชนีในเดือนกรกฎาคม 2556 จะปรับตัวลดลง ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าสถานการณ์ด้านการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์ค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยบวกสำคัญที่เชื่อว่าจะส่งผลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ได้แก่ สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่ยังมีความคักคักต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 22.47 หรือคิดเป็นจำนวนถึง 2.22 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี และ มาเลเซีย ขณะที่ระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงทรงตัว และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 30.83 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น
“ในส่วนของ สสว. ได้มีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในการก้าวเข้าสู่ AEC ไม่ว่าจะเป็น โครงการชดเชยดอกเบี้ย โครงการพัฒนาผลิตภาพของผู้ประกอบการ SMEs โครงการยกระดับผู้ประกอบการ OTOP สู่ SMEs และโครงการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน ฯลฯ ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้ได้ดำเนินการต่อเนื่อง และจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้เติบโต และเข้มเข็ง เป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทยต่อไป” นายชาวันย์ กล่าว