ตลาดแรงงานวิกฤตเด็กไทย 6 ใน 10 จบแค่ ม.6

นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวว่า สถานการณ์ การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กไทยในภาพรวม พบว่า เด็กและเยาวชนไทยมีความสามารถในการแข่งขันต่ำ จากผลการศึกษาเส้นทางชีวิตเด็กไทย โดยสสค.พบว่า ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนไทยที่เกิดในรุ่นเดียวกันเฉลี่ยปีละ 900,000 คน/ปี ซึ่งหากเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วน 1 ต่อ 90,000 คน จะพบว่าเด็กส่วนใหญ่ 6 ใน 10 คน หรือ 60% จบไม่เกินวุฒิม.6หรือปวช. ซึ่งในจำนวนนี้มีเด็ก1 คน ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ อีก 2.5 คน จบด้วยวุฒิม.3 แล้วไม่เรียนต่อ และอีก 2.5 คน จบด้วยวุฒิม.6หรือปวช.แล้วไม่เรียนต่อ ขณะที่เด็กอีก 4 คนที่เหลือแม้จะเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษา แต่พบว่า มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่จบมาแล้วได้งานทำใน 1 ปีแรก

 


นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวว่า สถานการณ์ การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กไทยในภาพรวม พบว่า เด็กและเยาวชนไทยมีความสามารถในการแข่งขันต่ำ จากผลการศึกษาเส้นทางชีวิตเด็กไทย โดยสสค.พบว่า ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนไทยที่เกิดในรุ่นเดียวกันเฉลี่ยปีละ 900,000 คน/ปี  ซึ่งหากเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วน 1 ต่อ 90,000 คน จะพบว่าเด็กส่วนใหญ่ 6 ใน 10 คน หรือ 60% จบไม่เกินวุฒิม.6หรือปวช. ซึ่งในจำนวนนี้มีเด็ก1 คน ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ อีก 2.5 คน จบด้วยวุฒิม.3 แล้วไม่เรียนต่อ และอีก 2.5 คน จบด้วยวุฒิม.6หรือปวช.แล้วไม่เรียนต่อ ขณะที่เด็กอีก 4 คนที่เหลือแม้จะเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษา แต่พบว่า มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่จบมาแล้วได้งานทำใน 1 ปีแรก

ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า การผลิตกำลังคนในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยตลาดแรงงานต้องการกำลังคนสายอาชีพ แต่มีการผลิตสายสามัญมากกว่า นอกจากนี้สายอาชีพยังมีสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ขณะที่แนวโน้มสากลในการพัฒนาคน ทักษะชีวิตและการมีงานทำถือเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาการศึกษายุคใหม่ที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เช่น ทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพบว่าองค์กรภาคเอกชนต่างสะท้อนว่าการผลิตเด็กไทยยังขาดทักษะที่สำคัญด้านการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม และวินัยในการทำงาน

ที่ปรึกษาด้านวิชาการสสค. กล่าวว่า การสร้างทักษะชีวิตและการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างตั้งแต่ระดับประถมและมัธยมต้น ก่อนที่เด็กจะเลือกเส้นทางชีวิตไปสู่สายสามัญหรือสายวิชาชีพ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในโรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งพบว่ากว่า 50% จบม. 3 แล้วไม่เรียนต่อ
 
    ทั้งนี้ สสค.จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ  โครงการละ 50,000-100,000 บาท โดยเปิดโอกาสให้โรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งเปิดสอนในระดับประถมและมัธยมต้น ที่มีอยู่กว่า 7,000 แห่ง เสนอโครงการมายังสสค. ตั้งแต่วันนี้- 31 ตุลาคมนี้  ดูรายละเอียดโครงการที่ www.QLF.or.th

 

NEWS & TRENDS