ปัจจัยลบรุมเร้ากดดัชนีความสามารถแข่งขัน SMEs ทรุด

นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2556 ว่า ดัชนีความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอีไทย ไตรมาส 2 อยู่ที่ 57.5 ลดลง 2.1 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ที่อยู่ใน 59.6%

 


นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ประจำไตรมาสที่ 2/2556 ว่า ดัชนีความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอีไทย ไตรมาส 2 อยู่ที่ 57.5 ลดลง 2.1 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ที่อยู่ใน 59.6%

ดัชนีสุขภาพของธุรกิจส่วนใหญ่ปานกลาง แย่มีน้อยกว่าดี และสุขภาพโดยรวมเท่ากับ 61.3 ลดลง 0.2 จุด โดยในภาพรวมสุขภาพของธุรกิจเอสเอ็มอีที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกด้าน ขณะที่สุขภาพของธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเกือบทุกด้าน ส่วนเอสเอ็มอีในพื้นที่ภาคกลางมีปัญหาขาดสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ในขณะที่กำไรสุทธิมีแนวโน้มลดลง

ทั้งนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อยู่ในภาคการค้า เป็นภาคธุรกิจเดียวที่สุขภาพของธุรกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าเริ่มมีปัญหาขาดสภาพคล่อง และสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก็ตาม ส่วนเอสเอ็มอีที่อยู่ในภาคการผลิต เริ่มมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสัดส่วนที่มากเกินไป

ดัชนีความสามารถในการทำธุรกิจ โดยรวมเท่ากับ 57.5 ลดลง 2.0 จุด โดยความสามารถในการทำธุรกิจของเอสเอ็มอีในภาพรวมทุกประเภท มีแนวโน้มปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา กลุ่มที่อยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคกลาง และภาคเหนือ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ เอสเอ็มอีในทุกภูมิภาคยังคงประสบปัญหาเรื่องต้นทุนสินค้า/บริการที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

ดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจโดยรวมเท่ากับ 53.6 ลดลง 4.1 จุด และมีแนวโน้มแย่ลงเกือบทุกด้าน ส่วนในช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ 68.8% เห็นว่าขีดความสามารถในการแข่งขันจะยังคงที่ โดยภาพรวมแล้ว เอสเอ็มอียังมองว่า เศรษฐกิจจะยังไม่ดีขึ้น ยังอยู่ในขาลงในช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า ยังไม่กล้าตั้งราคาสินค้าเพิ่มขึ้น สำหรับสิ่งที่ต้องการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐมากที่สุด คือ ด้านต้นทุนสินค้าที่ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นได้ สินค้าไม่มีตลาดรองรับ

NEWS & TRENDS