ม.หอการค้าไทยคัด 4 อุตสาหกรรมดาวเด่น

นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยในงานสัมมนา"ถอดรหัสอุตสาหกรรมดาวเด่นใน IMT-GT" ถึง 4 อุตสาหกรรมดาวเด่นที่ได้รับการคัดเลือกจากอุตสาหกรรมสินค้าเป้าหมาย 25 รายการ ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ซึ่งในปี 2555 ได้มีการเริ่มใช้แผนงานระยะห้าปี (ปี 2555 -2559)



    นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยในงานสัมมนา"ถอดรหัสอุตสาหกรรมดาวเด่นใน IMT-GT" ถึง 4 อุตสาหกรรมดาวเด่นที่ได้รับการคัดเลือกจากอุตสาหกรรมสินค้าเป้าหมาย 25 รายการ ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ซึ่งในปี 2555 ได้มีการเริ่มใช้แผนงานระยะห้าปี (ปี 2555 -2559)
         
    ทั้งนี้  4 อุตสาหกรรมดาวเด่นที่ได้รับคัดเลือกคือ อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา  อุตสาหกรรมปาล์มและน้ำมันปาล์ม อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป  และอุตสาหกรรมไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ไทยมีมูลค่าโดยรวมอุตสาหกรรมยางพาราและไม้ยางพาราสูงสุดในโครงการ IMT-GT

     โดยอุตสาหกรรมยางพารามีมูลค่าอยู่ที่ 908,364.28 ล้านบาท และไม้ยางพาราอยู่ที่ 156,941.6 ล้านบาทขณะที่มาเลเซียมีมูลค่าโดยรวมอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันสูงสุดอยู่ที่ 1,535,541.67 ล้านบาท

    สำหรับอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปปีที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยมี 2 ประเทศคู่ค้าสำคัญในการส่งออกคือสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 23.6% และญี่ปุ่น 22.5%ส่วนกรอบความร่วมมือ IMT-GTของทั้งสามประเทศ ถือว่าว่ามีบทบาทสำคัญทางเศษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเห็นได้จากขนาดของ GDP รวมทั้ง 3 ประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของอาเซียนที่มูลค่ากว่า 1.4ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ด้าน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2557 คาดจะเติบโตได้ดีกว่าปีนี้อยู่ที่ประมาณ5-7 % ซึ่งมาจากปัจจัยสนับสนุนของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ส่วนความกังวลของสหรัฐอเมริกา ในการพิจารณาขยายปรับเพดานหนี้ ในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ เชื่อว่า จะสามารถผ่านไปได้ด้วยดี ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก

    นายอิสระ กล่าวด้วยว่า มีความกังวลว่าเงินบาทที่ผันผวนจะส่งผลกระทบกับการส่งออก ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานระหว่างหอการค้าไทย กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสม

    สิ่งสำคัญควรมีการปรับตัว พัฒนาตัวเอง นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งตอนนี้ภาคเอกชนยังเข้มแข็งอยู่ และสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้โดยในปีนี้ตัวเลขการส่งออกของไทย คงจะอยู่ที่ร้อยละ 5 ซึ่งทั้งภาครัฐบาลและเอกชนก็เร่งหาวิธีที่จะทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

NEWS & TRENDS