ISMED เผย 6 Mega Trends แนวโน้ม SMEs อนาคต

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดแผนกระตุ้นผู้ประกอบการ SMEs ปรับกลยุทธ์รับมือ 6 Mega Trends ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันเหตุการณ์ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

 

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดแผนกระตุ้นผู้ประกอบการ SMEs ปรับกลยุทธ์รับมือ 6 Mega Trends  ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันเหตุการณ์ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) กล่าวว่า ISMED เป็นหน่วยงานหลักในการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการปรับปรุงกลยุทธ์องค์กรให้สามารถดำรงธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนพร้อมทั้งร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้แนวคิด 3 C’s พลังแห่งการสร้างสรรค์ Create  สร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ Connect และสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันและเกื้อกูลกันในสังคม Contribute ด้วยการมองอนาคต Future Foresight 2020 : Unveil SMEs in Mega Trends  ซึ่งได้รวบรวมความคิดและมุมมองของนักธุรกิจระดับประเทศในหลากหลายสาขา และนำมาสังเคราะห์และวิเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ให้แก่ SMEs ไทย ตระหนักและเข้าใจในปรากฏการณ์ใหญ่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตปี 2020     
  
"แนวคิด 3 C’s คือ 1. Create คือ สร้างสรรค์หลักสูตร โดยมีเป้าหมายหลักคือสร้างโอกาสให้กับคน โอกาสในการสร้างธุรกิจ โอกาสในการยกระดับธุรกิจ โอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และโอกาสในการฟื้นฟูธุรกิจ  2. Connect  เชื่อมโยงให้คนเก่งในแต่ละด้านมาเจอกัน มาช่วยสังคมให้ดีขึ้น 3. Contribute  กระจายไปสู่ SMEs ทั้งประเทศให้ได้ เพื่อเป้าหมายของ ISMED คืออยากเห็น SMEs ไทยแข็งแรงขึ้นและมียอดขายที่สูงขึ้นในแต่ละบริษัท เพื่อสะท้อนให้ทางภาครัฐเห็นว่ามูลค่า GDP ของประเทศ เกิดขึ้นจากธุรกิจ SMEs"

    สำหรับแนวโน้มสำคัญที่ SMEs ไทยควรเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต มีดังนี้     
    
Mega Trend 1 : แนวโน้มการใช้ชีวิตแบบวิถีคนเมือง (Urbanization)  เทคโนโลยีทำให้หลายประเทศ สังคมเมืองเจริญเข้าไปอยู่ทุกที่ มีห้างสรรพสินค้า มีคอนโดมิเนียม รถแท็กซี่มิเตอร์ มีอะไรที่มาให้บริการแก่สังคมมากขึ้น ซึ่งทำให้คนไม่จำเป็นต้องเข้าเมืองใหญ่ เพื่อทำธุรกิจ แต่จะเกิดธุรกิจในเมืองนั้นๆขึ้นมา เพราะมีความต้องการเกิดขึ้น และเมื่อเมืองเจริญ สิ่งที่กลับมามีค่าอีกครั้งหนึ่ง คือ สิ่งที่เป็นภูมิปัญญาหรือวัฒนธรรมจะถูกกลับมองให้มีคุณค่าขึ้น ซึ่งหน้าที่ของ ISMED คือจะทำให้ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือวัฒนธรรมมี Branding เกิดอัตลักษณ์แล้วขยายผลสู่การค้าระหว่างประเทศ        
    
    Mega Trend 2 : ยุคเศรษฐกิจสีเขียว (Greening Economy) เน้นในเรื่อง Green Industry ที่พยายามจะระดมแผนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่ต้องการพัฒนา New Business Model ให้ผลิตสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 

Mega Trend 3 : การเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มาพร้อมเทคโนโลยี แต่ขาดประสบการณ์ knowhow และการตัดสินใจ แม้จะติดเรื่องช่วงอายุระหว่างวัย แต่หากมีที่ปรึกษาระดับสูงอายุ ก็อาจจะลงความเสี่ยงต่อธุรกิจที่จะเกิดขึ้นใหม่ผ่านมุมมองของผู้สูงอายุ ISMED ก็ต้องการขยายผลโดยเก็บองค์ความรู้มารวบรวมเป็น Knowledge management

Mega Trend 4 : พลังผู้หญิงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Women Power /She-Economy) ผู้หญิงเป็นเพศที่เลือกตัดสินซื้อสินค้าได้ง่ายที่สุด ทั้งมีความห่วงใยคนอื่น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้   
                                  
Mega Trend 5 : ระบบขนส่งความเร็วสูงและโลจิสติกส์ (Hi-Speed & Coverage Logistics) ต้นทุนของการขนส่งหรือการเข้าสู่ระบบการจัดการสินค้าคงคลังเป็นปัจจัยหลักที่ SMEs ไทย  ต้องใส่ใจ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจในความรวดเร็วและมั่นใจได้ว่าสินค้านั้นถึงมือผู้บริโภคแน่นอน  service provider ของ Logistic มีผลทำให้ธุรกิจการค้ามีประสิทธิภาพและแข็งแรงขึ้น เกิดกระบวนการ supple chain ขึ้น เพราะ SMEs ไม่ว่าจะเป็นสินค้าบริการหรือสินค้าอุตสาหกรรม ที่ต้องเชื่อมโยงกับผู้อื่น ถ้าสามารถโยงเรื่องความรวดเร็วและควบคุมได้

Mega Trend 6 : ชีวิตในโลกแห่งดิจิตอล (Digital Lifestyle) หลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการช็อปปิ้ง ธุรกิจบันเทิง การศึกษา หรือบริการทางการเงิน มีการติดต่อกันผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ซึ่งต่อไปจะมีรูปแบบการค้าขายทางธุรกิจในลักษณะนี้ที่เข้มข้นมากขึ้น        

  "ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจสูงมาก ผู้ประกอบการ SMEs จึงต้องสร้างความแตกต่างและใหม่ให้กับองค์กรธุรกิจและวางเป้าหมายกลุ่มผู้บริโภคของตนเองให้ชัดเจน ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ก็มีทางเลือก คือ จะเป็น supple chain ขององค์กรธุรกิจใหญ่ คอย supple support service เขาในบางเรื่อง หรือทำธุรกิจ SMEs ให้แตกต่างอย่างชัดเจน โดยที่ ISMED ก็จะช่วยพัฒนา SMEs ไทย ให้ควบคู่กันไปทั้ง 2ทิศทางดังกล่าว เพื่อให้เกิดรายได้แก่ SMEs อย่างไรก็ตาม ถ้า SMEs ยังมีอุปสรรคในเรื่องการเข้าสู่ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าช่วงวัยกลางคนเป็นช่วงที่น่าเป็นห่วง คือเริ่มต้นทำธุรกิจแล้วระยะหนึ่ง และไม่รู้จะไปต่อทางไหน ISMED จะเป็นหน่วยงานที่มองอนาคตไปพร้อมกับ SMEs ไทย ด้วยการช่วยปรับกลยุทธ์หรืออาจให้เราวินิจฉัยความสามรถในการแข่งขันในระดับกิจการหรือเรียนรู้โดยผ่านทางหลักสูตรใหม่"  นายสุวรรณชัย กล่าวเพิ่มเติม          
                                      
นอกเหนือจากการที่ ISMED สร้างธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่และยกระดับผู้ประกอบการรุ่นใหม่แล้ว การติดตามอนาคตของผู้ประกอบการเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่หน่วยงานนี้รับผิดชอบ หลังจากที่ ISMED ได้ดูแลผู้ประกอบการ SMEs แล้ว ผ่านไปแต่ละปีมีความคืบหน้าอย่างไร โดยมีเครื่องมือที่เรียกว่า Business Performance Development (BPD) จะคอยติดตามทุกฉาก ซึ่งหลักการของ ISMED คือ อยากให้ผู้ประกอบการ SMEs วินิจฉัยธุรกิจเองก่อน เพื่อไม่ให้เกิดค่าใช้จ่าย แต่เมื่อธุรกิจเติบโตแข็งแรงขึ้นมาแล้ว เห็นว่าต้องการวินิจฉัยเชิงลึกขึ้น ค่อยมาใช้บริการ ISMED โดยเอาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงมาพัฒนา SMEs อย่างต่อเนื่อง
 
 
 
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

NEWS & TRENDS