SME Bank เล็งระดมทุนต่างประเทศเสริมสภาพคล่อง

นายมนูณรัตน์ เลิศโกมลสุข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางเอสเอ็มอีแบงก์มีแผนที่จะดำเนินการกู้ยืมเงินจากตลาดเงินในต่างประเทศ ซึ่งจะทำในรูปแบบของ FRCD กำหนดวงเงินไว้ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับ Funding ของธนาคารให้มีระยะเวลายาวมากขึ้น

 


นายมนูณรัตน์ เลิศโกมลสุข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางเอสเอ็มอีแบงก์มีแผนที่จะดำเนินการกู้ยืมเงินจากตลาดเงินในต่างประเทศ ซึ่งจะทำในรูปแบบของ FRCD กำหนดวงเงินไว้ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับ Funding ของธนาคารให้มีระยะเวลายาวมากขึ้น

ในขณะนี้มีบริษัท Fund manager ที่ New york ให้ความสนใจแผนการระดมเงินทุนของ SME bank ในครั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มี Paper จากประเทศไทยในตลาดการเงินของโลก ทั้งนี้ เอสเอ็มอีแบงก์ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ทำให้เครดิตที่ธนาคารได้รับเท่ากับเครดิตที่รัฐบาลไทยได้รับคือ BBB + 1

“เอสเอ็มอีแบงก์จำเป็นต้องปรับ Funding ของธนาคารให้มีระยะยาวมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการให้สินเชื่อกับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เป็นสินเชื่อระยะปานกลางถึงระยะยาว โดยปัจจุบัน Funding ของธนาคารเป็นระยะสั้นถึง 78% ส่วนที่เหลือเป็น Funding ระยะยาว ซึ่งตามแผนการกู้เงินต่างประเทศ วงเงิน 500 ล้านเหรียญ หรือ 1.5 หมื่นล้านบาทนี้ บวกกับแผนการกู้เงินในตลาดเงินในประเทศอีก 3-5 พันล้านบาท จะทำให้สัดส่วนเงินทุนระยะสั้นและระยะยาวของธนาคาร ปรับเป็น 50 ต่อ 50 โดย 500 ล้านเหรียญที่ระดมมาได้ “

โดยสาเหตุที่ธนาคารวางแผนออกไประดมเงินทุนในต่างประเทศนั้น เนื่องจากเห็นว่ามีความคล่องตัวมากกว่า และมีระยะเวลาการกู้ที่ยาวกว่าในประเทศ โดยที่ปัจจุบันธนาคารต้องตระเวนหาลูกค้าเงินฝากรายใหญ่ที่ส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนกิจการ ต่ออายุการฝากเป็นการฝากระยะสั้น

ในช่วง 9 เดือนของปีนี้ ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้ 7.4 พันล้านบาท และล่าสุดในเดือน ต.ค. ปล่อยสินเชื่อได้ 5.6 พันล้านบาท และมีสินเชื่อรอจ่ายในเดือน พ.ย. อีก 2 พันล้านบาท เมื่อรวมทั้งปีการปล่อยเชื่อใหม่ น่าจะได้ใกล้เคียงกับเป้าหมาย แต่เนื่องจากมีลูกค้าที่รีไฟแนนซ์ และลูกค้าที่จ่ายคืนเงินกู้ (Payment) ทำให้ยอดคงค้างของธนาคาร ณ สิ้นปี คาดว่าจะอยู่ที่ 9.4 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 1.015 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างของปีที่แล้ว 9.6 หมื่นล้านบาท

ที่มา : บ้านเมือง

 

NEWS & TRENDS