นายจ้างผวาหาเสียงเลือกตั้งชูขึ้นค่าจ้าง 400 บาทต่อวัน

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ “ม.หอการค้า”ตีกันพรรคการเมืองชู “ประชานิยม” หาเสียงกว้านสส. ชี้ไม่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของเศรษฐกิจ-สิ้นเปลืองงบมหาศาล ด้าน รมช.คลังโยนบาปม็อบฉุดการจัดเก็บรายได้ ส่วนสศค.เล็งปรับ “จีดีพี” ใหม่ 26 ธ.ค.นี้ ยอมรับส่งออกปีนี้ส่อ “ติดลบ”

 


ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ “ม.หอการค้า”ตีกันพรรคการเมืองชู “ประชานิยม” หาเสียงกว้านสส. ชี้ไม่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของเศรษฐกิจ-สิ้นเปลืองงบมหาศาล ด้าน รมช.คลังโยนบาปม็อบฉุดการจัดเก็บรายได้ ส่วนสศค.เล็งปรับ “จีดีพี” ใหม่ 26 ธ.ค.นี้ ยอมรับส่งออกปีนี้ส่อ “ติดลบ”

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นถึงการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 พรรคการเมืองไม่ควรเน้นนโยบายประชานิยมมากเกินไปเพราะไม่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของเศรษฐกิจประเทศ และที่สำคัญจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก แต่พรรคการเมืองควรให้ความสำคัญในการออกนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศระยะยาว

โดยในการนโยบายสำคัญๆ 3 นโยบาย ประกอบด้วย 1.การช่วยเหลือเรื่องข้าวโดยการอุดหนุนราคาที่สูงกว่าตลาดโลกมากๆ, การขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดด และ การบิดเบือนราคาพลังงาน เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อฐานะการคลังและเศรษฐกิจของประเทศ และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเชื่อว่าค่าจ้างทั่วประเทศที่อยู่ในระดับ 300 บาทต่อวัน น่าจะคงที่ 1-2 ปีส่วนในพื้นที่กทม.และจังหวัดที่มีค่าครองชีพสูงอาจทยอยปรับขึ้นค่าจ้างได้ตามกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี

นายธนิต โสรัตน์เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนกลัวนโยบายประชานิยมอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนที่น่ากลัวมากและจะทำให้ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศแสดงความกังวลเรื่องนี้อย่างมาก ล่าสุดกลุ่มผู้รับจ้างผลิตสินค้าทยอยในการย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหนีค่าจ้างขั้นต่ำก้าวกระโดด

แหล่งข่าวจากภาคเอกชนแสดงความเป็นห่วงว่าจะมีนักการเมืองบางกลุ่มอาจนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำก้าวกระโดดเป็น 400-500 บาทต่อวัน มาหาเสียง เพื่อหวังเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ผู้ประกอบการหลายรายอยู่ระหว่างการรวบรวมกลุ่มแสดงจุดยืนคัดค้านกรณีที่พรรคการเมืองจะนำนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดมาหาเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ประเทศไทยที่มีอยู่ 2.8 ล้านราย และกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนปรับตัวสูงตามด้วย และอาจส่งผลให้ภาคธุรกิจของไทยช็อกแน่นอน

“หากพรรคการเมืองใดหาเสียงในลักษณะนี้รัฐควรจัดสรรงบประมาณเอง แต่หากใช้เงินของภาคเอกชนดำเนินการ 100% เหมือนกับกรณีการปรับค่าจ้างวันละ 300 บาททั่วประเทศ ผู้ประกอบการและนายจ้างจำเป็นต้องมีการประท้วงแน่” แหล่งข่าว กล่าว

NEWS & TRENDS