สศอ.เร่งพัฒนาผู้ประกอบการอุตฯไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ในปีนี้ สศอ.จะดำเนินโครงการการพัฒนากระบวนการต้นแบบในการจัดทำ EuP (Energy Using Product) ระยะที่ 2 เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรที่ปรึกษาเพิ่มเติม และพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งที่อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เดิมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ (เช่น หลอดไฟส่องสว่าง ซึ่งแต่ละประเภทของหลอดไฟจะมีการใช้งาน การเก็บข้อมูลเชิงสถิติ วิธีการผลิต การทดสอบ และการทำงานที่แตกต่างกัน)

 


นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ในปีนี้ สศอ.จะดำเนินโครงการการพัฒนากระบวนการต้นแบบในการจัดทำ EuP (Energy Using Product) ระยะที่ 2 เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรที่ปรึกษาเพิ่มเติม และพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งที่อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เดิมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ (เช่น หลอดไฟส่องสว่าง ซึ่งแต่ละประเภทของหลอดไฟจะมีการใช้งาน การเก็บข้อมูลเชิงสถิติ วิธีการผลิต การทดสอบ และการทำงานที่แตกต่างกัน)

         และกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบ EuP (เช่น ส่วนประกอบของเครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ กล่องถ่าย TV, VDO เป็นต้น) อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ต่อไป

ดังนั้น จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนากระบวนการต้นแบบในการจัดทำ EuP (Energy Using Product) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และพร้อมปรับตัวเพื่อรองรับกฎระเบียบ EuP ภายใต้โครงการฯ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบนำร่อง 10 ผลิตภัณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป เพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งด้านการตลาดอันเนื่องมาจากผลกระทบของกฎระเบียบ EuP ได้

        รวมถึงมีการสร้างบุคลากรในประเทศให้สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำ และขยายองค์ความรู้ให้กว้างขวางออกไป รวมทั้งได้จัดกิจกรรมอบรม/สัมมนาสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างให้มีความพร้อมในการปรับตัวตามกฎระเบียบ EuP กว่า 300 คน การสร้างผู้เชี่ยวชาญด้าน EuP จำนวน 5 คน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ โดยมีการประเมินผลและได้รับวุฒิบัตรรับรอง

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ EuP ทั้ง 5 คน จะดำเนินการอบรมสร้างวิทยากรด้าน EuP ให้กับบุคลากรของโรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ รวม 20 คน เพื่อให้มีความรู้ และศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามกฎระเบียบ EuP โดยผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย

          อุปกรณ์ส่องสว่างในครัวเรือน อุปกรณ์ส่องสว่างนอกครัวเรือน เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ไฟฟ้า พัดลม ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ตู้เย็นและตู้แช่เชิงพาณิชย์ และ External Power Supplies ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้รับการพัฒนา โดยได้รับคำปรึกษา แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรที่ปรึกษา ตลอดจนการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของกฎระเบียบ EuP ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินกิจกรรมจัดทำตำราวิชาการสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาทั้ง 10 ผลิตภัณฑ์ เผยแพร่ไปสู่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนให้ได้ตามกฎระเบียบ EuP ที่จะขยายออกไปในวงกว้างครอบคลุมผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่

NEWS & TRENDS