เงินบาทอ่อนผู้ประกอบการแห่ทำประกันความเสี่ยง

นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าในช่วงนี้ทำให้เริ่มมีผู้ประกอบการนำเข้าทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (เฮดจิ้ง) มากขึ้น เห็นได้จากปริมาณการทำเฮดจิ้งของผู้นำเข้ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับผู้ส่งออก เนื่องจากผู้นำเข้า ส่วนใหญ่เป็นรายใหญ่ และบางรายมีบริษัทแม่อยู่ในต่างประเทศที่ต้องป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามที่บริษัทแม่กำหนด ต่างจากผู้ส่งออกที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ปัจจุบันมีการป้องกันความเสี่ยงน้อยกว่า


นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าในช่วงนี้ทำให้เริ่มมีผู้ประกอบการนำเข้าทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (เฮดจิ้ง) มากขึ้น เห็นได้จากปริมาณการทำเฮดจิ้งของผู้นำเข้ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับผู้ส่งออก เนื่องจากผู้นำเข้า ส่วนใหญ่เป็นรายใหญ่ และบางรายมีบริษัทแม่อยู่ในต่างประเทศที่ต้องป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามที่บริษัทแม่กำหนด ต่างจากผู้ส่งออกที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ปัจจุบันมีการป้องกันความเสี่ยงน้อยกว่า

ทั้งนี้ หากดูปริมาณการทำเฮดจิ้ง พบว่าในช่วงเดือนพ.ย.2556 ที่เงินบาทเริ่มอ่อนค่ามีผู้นำเข้าทำเฮดจิ้งเพิ่มขึ้น 10% เป็น 27% จากเดือนต.ค.อยู่ที่ 17% ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนของปี 2556 และเทียบกับค่าเฉลี่ยการทำเฮดจิ้งของผู้นำเข้าก่อนหน้านี้เฉลี่ยอยู่ที่ 16-20% ขณะที่ในช่วงเดียวกันผู้ส่งออกทำเฮดจิ้ง 34% เพิ่มขึ้นจากเดือนต.ค.ที่มี 30% แต่น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงบาทแข็งที่เฉลี่ยการทำเฮดจิ้งอยู่ที่ 30-40% โดยสูงสุดในเดือนมิ.ย.ที่ 40%

รายงานจากธปท.เปิดเผยว่า จากรายงานพฤติกรรมการทำเฮดจิ้งของผู้ประกอบการไทย พบว่าสัดส่วนยอดคงค้างการป้องกันความเสี่ยงของผู้ส่งออก จำแนกตามรายอุตสาหกรรมนั้น กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารมียอดคงค้างการทำเฮดจิ้ง ณ เดือนก.ค.2556 สูงสุด 24.6% รองลงมาคือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก 14.2% และเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 9.3% เครื่องจักรและเครื่องมือ 9.2% คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ 8.4%

NEWS & TRENDS