SMEs ภาคผลิตกังวลชัตดาวน์กทม.ซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ ปี 54

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับ 7 องค์กรเอกชน เช่น ส.อ.ท. หอการค้าไทย, สมาคมธนาคาร, สภาธุรกิจตลาดทุนไทย, ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงผลกระทบชัตดาวน์กรุงเทพฯ วันที่ 13 มกราคม 2557 ทุกองค์กรเป็นห่วงกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และเตือนให้แต่ละองค์กรเตรียมแนวทางการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่ให้การดำเนินธุรกิจสะดุด รวมถึงภายใน 1 - 2 วันนี้ คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) และ 7 องค์กรภาคเอกชนจะเชิญทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน ศาลรัฐธรรมนูญ เครือข่ายภาคสังคม และพรรคการเมืองต่างๆ หันหน้าเจรจากันเพื่อจะระดมความคิดเห็นหาทางออกของประเทศ โดยจะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด

 


นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับ 7 องค์กรเอกชน เช่น ส.อ.ท. หอการค้าไทย, สมาคมธนาคาร, สภาธุรกิจตลาดทุนไทย, ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงผลกระทบชัตดาวน์กรุงเทพฯ วันที่ 13 มกราคม 2557  ทุกองค์กรเป็นห่วงกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และเตือนให้แต่ละองค์กรเตรียมแนวทางการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่ให้การดำเนินธุรกิจสะดุด รวมถึงภายใน 1 - 2 วันนี้ คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) และ 7 องค์กรภาคเอกชนจะเชิญทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน ศาลรัฐธรรมนูญ เครือข่ายภาคสังคม และพรรคการเมืองต่างๆ หันหน้าเจรจากันเพื่อจะระดมความคิดเห็นหาทางออกของประเทศ โดยจะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ในแง่ภาคการผลิตมองว่าถ้าเหตุการณ์ยืดเยื้อจะกระทบต่อภาคการผลิตได้ โดยเฉพาะสมาชิกใน ส.อ.ท. 42 กลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งมีผู้ประกอบการเกือบ 8,000 รายทั่วประเทศโดย 80-90% เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่อาจจะซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ได้ กรณีที่ออร์เดอร์หรือคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทย ถูกโยกไปประเทศเพื่อนบ้านแทน

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จากที่ทั่วประเทศมีผู้ประกอบการกลุ่มนี้ราว 2.9 ล้านราย เช่น โรงงานห้องแถวที่กระจายอยู่ทั่วไป จะได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้ ผู้ประกอบการต้องวางแผนรับมือ เตรียมความพร้อมในทุกด้าน ตั้งแต่การขนส่งสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบนำเข้าและส่งออก หากโรงงานใดอยู่ใกล้ทางแยกที่ปิดเพื่อเป็นศูนย์รวมผู้ชุมนุม ก็ปรับแผนผลิตจาก 3 กะเป็น 1 กะ หรือวางแผนหยุดการผลิตชั่วคราว และหันไปเจรจากับโรงงานที่ผลิตในสินค้าชนิดเดียวกันที่ประกอบกิจการอยู่รอบนอกกรุงเทพฯทำการผลิตแทนจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

ส่วนโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่กระจายอยู่ จ.พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปทุมธานี นนทบุรี เป็นจำนวนมาก และมีตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออกที่ต้องใช้เส้นทางผ่านพื้นที่ กทม.เพื่อไปยังท่าเรือคลองเตย หรือท่าเรือแหลมฉบัง หรือสนามบิน หรือส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าภายในประเทศ ก็ยังอยู่ในข่ายสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ใช้เวลาเดินทางมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนขนส่งสูงขึ้นตามมา

"ขณะนี้เริ่มมีคำถามจากลูกค้าต่างประเทศว่า ผลทางการเมืองจะทำให้การส่งมอบสินค้ามีอุปสรรคหรือไม่ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นไปได้ว่า ลูกค้าจะกระจายความเสี่ยงไปสั่งสินค้าจากประเทศข้างเคียงแทน ทำให้ออร์เดอร์ปี 2557 ในหลายอุตสาหกรรมมีโอกาสหายไป 30 - 50% ก็น่าเสียดายที่เวลานี้ค่าเงินบาทกำลังอ่อนค่าลงแต่ก็มาเสียโอกาสนี้ไปอีก"

นายจำรัส พานเพียรศิลป์ กรรมการสมาคมเครื่องจักรกลไทย ซึ่งมีสมาชิกกว่า 300 รายทั่วประเทศและเป็นเอสเอ็มอีทั้งหมด กล่าวว่า ดูจากสถานการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อในขณะนี้ ทำให้มั่นใจว่าจะกระทบต่อยอดขายของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทย ตลอดปี 2557 ที่สมาชิกในสมาคมทั้งหมดเป็นกลุ่มทุนไทย ที่มีแนวโน้มว่ายอดขายรวมจะหายไป 30% หรือเป็นมูลค่ายอดขายที่หายไปราว 5 พันล้านบาท

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

 

NEWS & TRENDS