อีไอซีแนะ SMEs ชิ้นส่วนรถยนต์ระวังจีนคู่แข่งขันสำคัญ

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) ได้ให้ข้อมูลว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จีนได้เริ่มทยอยเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย แม้ว่าในปัจจุบันปริมาณและมูลค่าในการลงทุนยังมีไม่มาก แต่อีไอซี มองว่าในอนาคตผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จีนจะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เนื่องจากการเข้ามาตั้งสายการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์จีนเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จีนตามเข้ามาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อป้อนให้กับลูกค้าเดิม โดยผู้ประกอบการสามารถหาโอกาสพบผู้ประกอบการต่างชาติได้ตามงานแสดงสินค้า (exhibition) การประชุมและสัมมนาที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนั้นการติดต่อสอบถามผ่านทางซัพพลายเออร์ที่มีลูกค้าอยู่ในต่างประเทศก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

 


ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) ได้ให้ข้อมูลว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จีนได้เริ่มทยอยเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย แม้ว่าในปัจจุบันปริมาณและมูลค่าในการลงทุนยังมีไม่มาก แต่อีไอซี มองว่าในอนาคตผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จีนจะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เนื่องจากการเข้ามาตั้งสายการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์จีนเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จีนตามเข้ามาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อป้อนให้กับลูกค้าเดิม โดยผู้ประกอบการสามารถหาโอกาสพบผู้ประกอบการต่างชาติได้ตามงานแสดงสินค้า (exhibition) การประชุมและสัมมนาที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนั้นการติดต่อสอบถามผ่านทางซัพพลายเออร์ที่มีลูกค้าอยู่ในต่างประเทศก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

             ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายย่อยควรให้ความสำคัญกับ R&D มากขึ้น ประโยชน์ที่ชัดเจนของการวิจัยและพัฒนาคือการยกระดับเทคโนโลยีการผลิตซึ่งจะสร้างความแข็งแกร่งแก่ธุรกิจในระยะยาว โดยเมื่อมองในภาพรวมพบว่าประเทศไทยยังมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP เพียง 0.2% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งอยู่ที่ 3% ของ GDP จากการวิเคราะห์ของอีไอซี พบว่าเบื้องหลังของปัญหาคือการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาที่ยังน้อยเกินไปของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีจำนวนคิดเป็นสัดส่วนกว่า 90% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมดในประเทศ โดยในปี 2012 ภาคเอกชนไทยมีสัดส่วนเพียง 59% ของค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนของญี่ปุ่นและจีนที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 74% และ 77% ตามลำดับ
 

NEWS & TRENDS