นางอรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กสอ. ได้เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะช่วยเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อเปิดตลาดใหม่ ๆ รวมถึงการพัฒนาธุรกิจให้แข่งขันได้ จึงได้กำหนดแผนงานที่สำคัญ ๆ รวม 5 ด้านหลัก ๆ ดังนี้
นางอรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กสอ. ได้เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะช่วยเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อเปิดตลาดใหม่ ๆ รวมถึงการพัฒนาธุรกิจให้แข่งขันได้ จึงได้กำหนดแผนงานที่สำคัญ ๆ รวม 5 ด้านหลัก ๆ ดังนี้
1) การส่งเสริม SMEs ของไทยให้ก้าวสู่ซับพลายเชนของอาเซียน (Thai SMEs to AEC Supply Chain) โดย กรมฯ จะพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้พร้อมรับการเปิด AEC ด้วยการฝึกอบรมทั้งระดับผู้บริหารงาน และผู้ปฏิบัติงาน การให้คำปรึกษาด้านการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน การเชื่อมโยงการตลาด AEC การสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศกลุ่มอาเซียนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมตามศักยภาพของพื้นที่
ตลอดจนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 157 ล้านบาท ตั้งเป้าพัฒนาวิสาหกิจ 600 กิจการ ผู้ประกอบการ 12,000 คน และพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์และชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าไลฟ์สไตล์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รองเท้าและเครื่องหนัง และก่อสร้าง เป็นต้น
2) การเพิ่มผลิตภาพและนวัตกรรมเพื่อการเติบโตของ SMEs (Productivity and Innovation for SMEs Growth) โดยเน้นพัฒนา SMEs ให้สามารถปรับตัวรองรับและสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปทางเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มผลิตภาพในการผลิต การนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์ การยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการ การส่งเสริมศักยภาพด้านกระบวนการผลิตและเทคโนโลยี การจัดการด้าน
พลังงาน และการนำระบบ IT เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ โดยมีเป้าหมายดำเนินการ 1,025 กิจการ พัฒนาศักยภาพบุคลากร 3,800 คน และพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม 470 กิจการ ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 307.35 ล้านบาท
3) การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแฟชั่นอาเซียน (Thailand ASEAN Fashion Center) โดยอุตสาหกรรมแฟชั่นมีความเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมย่อยหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ซึ่งแนวทางการดำเนินงานที่กรมฯ ได้วางเอาไว้ ได้แก่
การเพิ่มผลิตภาพในการผลิต, การพัฒนาธุรกิจในการสร้าง Brand, การสร้าง Designer เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้าง Fashion Trend ในอนาคต, การสร้างการรับรู้และภาพลักษณ์ให้กับสินค้าของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย, การเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น, การสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และการผลักดัน 4 ย่านการค้าแฟชั่น ได้แก่ สยาม ประตูน้ำ โบ๊เบ๊ และสวนจตุจักร ให้กลายเป็นแหล่งสินค้าแฟชั่นไทยที่มีกลุ่มลูกค้าทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ โดยมุ่งเน้นพัฒนากิจการแฟชั่นไทย 225 กิจการ พัฒนาบุคลากรอีกกว่า 2,200 คน พัฒนาย่านการค้าแฟชั่น 4 ย่านการค้า รวมทั้งการร่วมงานBangkok Fashion Week ภายใต้งบประมาณ 160 ล้านบาท
4) การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร (Thailand Food Valley) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ตลอดห่วงโซ่อุปทานในเชิงนวัตกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรม เกษตรแปรรูป และเพิ่มคนางอรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าวามสามารถการแข่งขันในตลาด AEC ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวนี้ไม่ได้พัฒนาเพียงแค่อาหาร ที่สำเร็จรูป ซึ่งเป็นสินค้าปลายน้ำเท่านั้น แต่เชื่อมโยงไปถึงต้นน้ำซึ่งเป็นขั้นตอนของการผลิตวัตถุดิบด้วย
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการนำผลงานวิจัยมาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสู่การจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ หรือเป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยมีเป้าหมายดำเนินการพัฒนาวิสาหกิจจำนวน 170 กิจการ และคาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการต่อยอดจากผลงานการวิจัยไม่ต่ำกว่า 230 ชิ้น ภายใต้งบประมาณ 48.6 ล้านบาท
5) การเพิ่มมูลค่าสินค้า OTOP ด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (High Value OTOP Based On Rich Culture and Local Wisdom) เป็นการต่อยอดจากโครงการสินค้า OTOP เดิม ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน ในการนำองค์ความรู้ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของสังคมไทยมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ
พร้อมทั้งยกระดับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม ภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ของไทยได้อย่างครบวงจร รวมถึงการพัฒนาและสร้างอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP ของแต่ละภูมิภาค ตลอดจนการส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอาหารพื้นถิ่น ผ่านการนำเสนอจากบุคคลชั้นนำของไทยและต่างประเทศ อาทิ ทูตานุทูต คณะรัฐมนตรีและสื่อมวลชน ภายใต้งานบริการโต๊ะโคราช โต๊ะปักษ์ใต้ และการพัฒนาผ้าทอกะเหรี่ยง เป็นต้น โดยตั้งเป้าพัฒนา OTOP ในการนำภูมิปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่ม จำนวน 400 กิจการ พัฒนาราษฎรตามโครงการพระราชดำริ 1,450 คน และพัฒนาวิสาหกิชุมชน 350 กลุ่ม ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 105.75 ล้านบาท