ผลสำรวจคชี้อนาคต GEN Y สนทำงานอิสระผ่านระบบดิจิตอล

ดีลอยท์ เปิดเผยผลสำรวจ Millennial Survey ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2556 จากเมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้บทสรุปจากผลสำรวจนี้ว่ากลุ่มคน Gen Y มีความต้องการและความคาดหวังสูง ซึ่งกว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มผู้นำในอนาคตทั่วโลกอาจ ‘ปฎิเสธ’ องค์กร ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ แต่ต้องการทำงานอย่างเป็นอิสระผ่านรูปแบบดิจิตอลมากกว่า ถือเป็นความท้าทาย ที่องค์กรธุรกิจชั้นนำจะต้องประสบในการสนองตอบความคาดหวังของคนในรุ่นมิลเลนเนียล (Millenneal generation)

 



ดีลอยท์ เปิดเผยผลสำรวจ Millennial Survey ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2556 จากเมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้บทสรุปจากผลสำรวจนี้ว่ากลุ่มคน Gen Y มีความต้องการและความคาดหวังสูง ซึ่งกว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มผู้นำในอนาคตทั่วโลกอาจ ‘ปฎิเสธ’ องค์กร ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ  แต่ต้องการทำงานอย่างเป็นอิสระผ่านรูปแบบดิจิตอลมากกว่า ถือเป็นความท้าทาย ที่องค์กรธุรกิจชั้นนำจะต้องประสบในการสนองตอบความคาดหวังของคนในรุ่นมิลเลนเนียล (Millenneal generation)

มิลเลนเนียล คือ กลุ่มคนที่ทราบกันดีว่าเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งใน ปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568) จะมีคนกลุ่มนี้ทำงานอยู่ในองค์กรทั่วโลกถึงร้อยละ 75 คนเหล่านี้ต้องการทำงานให้กับ องค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนความคิดด้านนวัตกรรม และพัฒนาทักษะที่หลากหลายให้กับพวกเขา และ หวังที่จะเห็นการสนับสนุนสังคมในทางที่ดีขึ้นด้วย
 
      ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลนั้น เชื่อว่าองค์กรธุรกิจต่างๆยังไม่ได้ทำเต็มที่ในการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำให้กับพวกเขา องค์กรจำเป็น ต้องดูแลเอาใจใส่ผู้ที่จะเติบโตไปเป็นผู้นำในอนาคต และองค์กรไม่สามารถคาดหวังให้พวกเขานั่งรอเวลา จนกระทั่งมีตำแหน่งอาวุโสว่างขึ้นมา  

มร.แบรี่ ซาลสเบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ดีลอยท์ กล่าวว่า “เพื่อดึงดูดและรักษากลุ่มพนักงาน ที่มีความสามารถ (talent)  องค์กรต้องแสดงให้กลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลเห็นว่า เป็นองค์กรที่มีนวัตกรรม และมีความสอดคล้องกับความคิดเห็นและความต้องการของกลุ่มคน เหล่านี้”  

“สังคมของเราทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์มากมาย และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าไม่มีภาคส่วนไหน ที่ควรจะ ‘ลุยเดี่ยว’  การทำงานร่วมกันผสานทักษะที่หลากหลายจากทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐฯ และกลุ่ม


เอ็นจีโอ (NGOs) จะสามารถช่วยให้เกิดโอกาสในการจุดประกายให้กับคนยุคมิลเลนเนียล และช่วยให้เกิด ความก้าวหน้าอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาของสังคม” มร. ซาลสเบิร์ก กล่าวเสริมข้อบ่งชี้อื่นๆ ที่พบได้จากการสำรวจ 

ธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จได้มากกว่านี้ กลุ่มคนยุคมิลเลนเนียล ร้อยละ 74 เชื่อว่าธุรกิจ สร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคม โดยแบ่งได้เป็นการสร้างงาน ร้อยละ 48  และเพิ่มความมั่งคั่งให้ กับชีวิต ร้อยละ 71   มิลเลนเนียลเห็นว่าองค์กรธุรกิจสามารถ มีบทบาทในการจัดการความท้าทาย ต่างๆของสังคมได้มากกว่านี้
 
        โดยเรียงตามลำดับหัวข้อที่เป็นที่น่ากังวลที่สุด ดังนี้  เรื่องการขาด แคลนทรัพยากร ร้อยละ 68  เรื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 65 และเรื่องความเท่าเทียม ของรายได้ ร้อยละ 64  นอกจากนี้ ร้อยละ 50 ของกลุ่มมิลเลนเนียลยังต้องการทำงานให้กับองค์กร ที่มีหลักจริยธรรมในการทำงาน

ภาครัฐยังทำได้ไม่ดีพอ กลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลมองว่าภาครัฐนั้นมีศักยภาพมากที่สุดในการจัดการกับปัญหาสำคัญๆ ของ สังคมแต่กลับล้มเหลวอย่างใหญ่หลวง เกือบครึ่งหนึ่งรู้สึกว่าภาครัฐสร้างผลกระทบเชิงลบต่อเรื่อง ที่ถือเป็นปัญหาสำคัญดังนี้ การว่างงาน ร้อยละ 47  การขาดแคลนทรัพยากร ร้อยละ 43 และความ ไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ร้อยละ 56

องค์กรต่างๆต้องสนับสนุนความคิดนวัตกรรม  กลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลต้องการร่วมงานกับองค์กรที่สนับสนุนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งอันที่จริง ร้อยละ 78 ของกลุ่มมิลเลนเนียลตัดสินใจเลือก องค์กรที่ต้องการทำงานด้วย โดยพิจารณาว่าองค์กรนั้นๆสนับสนุนความคิดริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ มากน้อยแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่กล่าวว่านายจ้างปัจจุบันไม่ได้ส่งเสริมให้พวกเขาได้ใช้ความคิด สร้างสรรค์อย่างเต็มที่
 
        ร้อยละ 63 เชื่อว่าอุปสรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆ คือ ทัศนคติ ของผู้บริหาร ร้อยละ 61 มองว่าเป็นเรื่องของโครงสร้างการดำเนินงานและขั้นตอนการปฏิบัติ ส่วน ร้อยละ 39 เห็นว่าเป็นเรื่องของทักษะและทัศนะคติของพนักงาน และการขาดความหลากหลาย ของพนักงาน

องค์กรจะต้องฟูมฟักผู้นำเกิดใหม่ มากกว่าหนึ่งในสี่ของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลจะขอโอกาสแสดงทักษะความเป็นผู้นำของพวกเขานอกจากนี้ร้อยละ 75 เชื่อว่าองค์กรของพวกเขาสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้เพื่อพัฒนา ผู้นำในอนาคต 

มิลเลนเนียลกระตือรือร้นที่จะสร้างความแตกต่าง มิลเลนเนียลเชื่อว่าความสำเร็จของธุรกิจไม่สามารถวัดกันเพียงความสำเร็จทางด้านการเงินเท่านั้น  แต่สิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญก็คือการพัฒนาสังคม  นอกเหนือจากสิ่งอื่นๆที่องค์กรมองว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำให้บรรลุผล
 
        นอกจากนี้ กลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลยังมีจิตกุศลและกระตือรือร้นที่จะ มีส่วนร่วมใน ‘กิจกรรมเพื่อสาธารณะ’ ร้อยละ 63 ของคนกลุ่มนี้บริจาคเพื่อการกุศล ร้อยละ 43 ร่วมกิจกรรมลักษณะจิตอาสา หรือเป็นสมาชิกในองค์กรเครือข่ายชุมชน และร้อยละ 52 ลงชื่อเพื่อ สนับสนุนการเรียกร้อ

มร. ซาลสเบิร์ก กล่าวว่า “เห็นได้ชัดว่าคนยุคมิลเลนเนียลนั้นแสวงหาการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และองค์กร ควรรับฟังเสียงของพวกเขา”

“การส่งเสริมวัฒนธรรมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษากลุ่มพนักงานหัวกะทิเท่านั้น แต่ยังจะผลักดันองค์กรให้เติบโตด้วยการเปิดโอกาสให้แต่ละบุคคลได้ปลดล็อกให้เกิดความคิดใหม่ๆที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอีกด้วย”

 

NEWS & TRENDS