ก.วิทย์ฯ เดินหน้าพัฒนา OTOP ผ้าทองรับอาเซียน

ผ้าทอ เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทหนึ่งซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ที่กำหนดเกณฑ์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย แต่ยังมีผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าทอหลายรายที่ยังไม่สามารถขอการรับรองตามมาตรฐาน มผช. ได้ เนื่องจากคุณภาพของสินค้ายังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดเป็นสาเหตุที่ทำให้ผ้าทอไม่มีคุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน มผช.

 


ผ้าทอ เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทหนึ่งซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ที่กำหนดเกณฑ์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย แต่ยังมีผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าทอหลายรายที่ยังไม่สามารถขอการรับรองตามมาตรฐาน  มผช. ได้ เนื่องจากคุณภาพของสินค้ายังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดเป็นสาเหตุที่ทำให้ผ้าทอไม่มีคุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน มผช. 

นางสาวเสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ประเทศ กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนรับผิดชอบในการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งเสริมผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศ
 
         โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายศักยภาพทางการค้า รวมถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคจึงลงพื้นที่สำรวจสินค้า OTOP  
 
         ทั้งนี้้ พบว่าสินค้าผ้าทอ หนึ่งในหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย  มีผู้ผลิตผ้าทอชุมชนหลายรายที่ยังไม่สามารถขอการรับรองตามมาตรฐาน  มผช. ได้  จึงเร่งนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ มาช่วยแก้ปัญหากระบวนการผลิตสินค้าผ้าทอชุมชน  มีการส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการชุมชนในเรื่องความคงทนของสีต่อการซัก การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทำให้แห้ง  การใช้สีย้อมสังเคราะห์ที่ได้มาตรฐาน  พัฒนากระบวนการผลิตการย้อมสี การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการย้อมเส้นด้ายที่เหมาะสม มุ่งส่งเสริมสินค้าประเภทผ้าทอให้ได้คุณภาพและสามารถเข้าสู่กระบวนการขอการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ 

นางสาวเสาวณีฯ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเภทผ้าทอสู่การรับรองมาตรฐาน ซึ่งดำเนินการโดยผู้ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน จึงต้องมีการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการผลิตผ้าทอในระดับชุมชนให้มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่น
 
       อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าชุมชน สร้างชื่อเสียงให้กับท้องถิ่น และเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด รวมถึงรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนที่จะมีในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งพื้นที่เริ่มดำเนินการใน พ.ศ. 2557ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร  มุกดาหาร สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร  และ อุดรธานี สำหรับผู้ประกอบการผ้าทอสนใจสอบถามข้อมูล สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02201 7533และ 02201 723

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

NEWS & TRENDS