จัดงานแสดงสินค้าฮาลาลหนุน SMEs สร้างมาตรฐานสากล

ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แต่ละปีประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารสู่ต่างประเทศทั่วโลกประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เกือบร้อยละ 20 หรือ 4,800 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอาหารประเภทปลอดสุกรและสุรา ซึ่งอาจนับเป็นอาหารฮาลาลเพื่อการบริโภคของมุสลิม ส่งเข้าสู่กลุ่มประเทศมุสลิม 57 ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก หากประสงค์จะขึ้นแท่นสู่อันดับ 1 ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการพร้อมสร้างตราสัญลักษณ์ฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก

 


ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แต่ละปีประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารสู่ต่างประเทศทั่วโลกประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เกือบร้อยละ 20 หรือ 4,800 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอาหารประเภทปลอดสุกรและสุรา ซึ่งอาจนับเป็นอาหารฮาลาลเพื่อการบริโภคของมุสลิม ส่งเข้าสู่กลุ่มประเทศมุสลิม 57 ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก หากประสงค์จะขึ้นแท่นสู่อันดับ 1 ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการพร้อมสร้างตราสัญลักษณ์ฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก

ทั้งนนี้ งานแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติเชียงใหม่ 2557” หรือ Chiang Mai Halal International Fair (CHIF 2014) ที่จัดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม เพราะมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อส่งเสริมให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ และบริการฮาลาลของประเทศไทย และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบนได้ต่อไป โดยมีบูธกว่า 213 ร้านค้า จาก 12 ประเทศร่วมออกงาน พร้อมได้รับการตอบรับอย่างดีมีผู้เข้าร่วมงานตลอด 4 วันอย่างคึกคัก

อีกทั้งได้ช่วยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล ขยายจำนวนผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรองจากองค์กรศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง ช่วยสร้างโอกาสและช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งช่วยสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรศาสนา เกิดกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลอย่างเป็นระบบ เป็นการสร้างคุณภาพฮาลาลในพื้นที่ภาคเหนือให้เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค โดยมุ่งหวังที่จะผลักดันให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมฮาลาล และให้ภาคเหนือเป็นอีก 1 ในศูนย์กลางการกระจายผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลในระดับอนุภูมิภาคต่อไป”

งานแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติครั้งนี้ นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลที่เป็นไปตามศาสนบัญญัติอิสลาม มีการนำเสนออัตลักษณ์ของโลกมุสลิมให้เป็นที่ปรากฏ ในงานมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมุสลิม ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลที่นำเสนอมาจากในประเทศไทยเอง และจากกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมไปถึงกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และเครือข่ายประเทศในอ่าวเบงกอล (BIMSTEC) เป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ในส่วนกิจการการจับคู่ธุรกิจฮาลาล (Business Matching) มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทย กับนักธุรกิจจากต่างประเทศ ประกอบด้วย ประเทศมุสลิมในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้าโขง (GMS) และอ่าวเบงกอล (BIMSTEC) และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมทั้งมีการจัดอบรมหลักสูตร “พ่อครัวฮาลาล” และการสัมมนาของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศอีกด้วย
 

NEWS & TRENDS