SME Bank ระอุสหภาพคัดค้านคำสั่งโยกย้ายพนักงาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธวพ.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ ยังคงไม่ยุติ เพราะพนักงานบางส่วน นำโดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธพว.ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการออกคำสั่ง แต่งตั้งโยกย้ายพนักงานของ นายพงษ์ศักดิ์ ชาเจียมเจน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาการกรรมการผู้จัดการ ระหว่างวันที่ 17-21 ก.พ. 2557 แทน นางสาวปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากบอร์ดให้ทำหน้าที่รักษาการกรรมการผู้จัดการ เนื่องจากนางสาวปาริฉัตร ได้ขอลากิจ

 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธวพ.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ ยังคงไม่ยุติ เพราะพนักงานบางส่วน นำโดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธพว.ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการออกคำสั่ง แต่งตั้งโยกย้ายพนักงานของ นายพงษ์ศักดิ์ ชาเจียมเจน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาการกรรมการผู้จัดการ ระหว่างวันที่ 17-21 ก.พ. 2557 แทน นางสาวปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากบอร์ดให้ทำหน้าที่รักษาการกรรมการผู้จัดการ เนื่องจากนางสาวปาริฉัตร ได้ขอลากิจ

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2557 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธพว. ได้ทำจดหมายถึงบริหารระดับสูงของธนาคาร และพนักงานของ ธวพ.ทุกคน พร้อมเรียกร้องให้มีการแก้ไขและยกเลิกคำสั่งแต่ตั้งโยกย้าย ที่ลงนามโดยนายพงษ์ศักดิ์

ผู้สื่อข่าวรายอีกว่าในเอกสารเผยแพร่ของสหภาพฯระบุว่า จากกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธพว. ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อเรียกร้องให้ผู้บริหารแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคณะกรรมการธนาคารและกรรมการผู้จัดการ และเรียกร้องโบนัสไม่น้อยกวา 4 เดือน ตามผลกำไรที่เกิดขึ้นจริงอันเป็นสิทธิที่พนักงาน ควรจะได้รับ ซึ่งคณะกรรมการธนาคารก็ได้ให้คํามั่นสัญญากับพนักงานว่าเหตุการณ์ที่พนักงานมาชุมนุมร้องเรียนกันในครั้งนั้น ของให้ยุติลงและจะไม่ถือโทษ ติดใจเอาผิดกับพนักงานทุกคน แต่เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นไปตามที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการได้ให้คำมั่นสัญญาไว้

เนื่องจากปรากฏว่า เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ได้มีการออกคำสั่งโอนย้ายผู้บริหาร 2 ฉบับ รวมพนักงานทั้งสิ้น 16 คน ตามคําสั่งที่ 20/2557 และ 21/2557 ลว. 18 ก.พ.2557 ลงนามโดยนายพงษ์ศักดิ์ ชาเจียมเจน ปฏิบัติหน้าที่รักษาการกรรมการผู้จัดการ โดยมีพนักงานบางคนได้รับผลกระทบในเชิงลบและด้อยลงกว่าตําแหน่งเดิมเสมือนเป็นการลงโทษเอาผิดกับพนักงาน ทั้งที่ธนาคารเองก็มีกฎระเบียบข้อบังคับและวิธีปฏิบัติในการที่จะลงโทษพนักงาน และจากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นแนวทางของฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการที่พยายามจะหาผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ทั้งๆ ที่เป็นการแสดงออกโดยทั่วไป เพื่อต้องการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ขององค์กร การกระทําของนายพงษ์ศักดิ์ ชาเจียมเจน ที่ได้ออกคําสั่งโยกย้ายพนักงาน เสมือนเป็นการกลั่นแกล้งและลงโทษพนักงาน ซึ่งการกระทําดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคาร เนื่องจากเป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนรักษาการกรรมการผู้จัดการ การจะดําเนินการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานในหลักการที่ถูกต้องแล้วจําเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งการกระทําดังกล่าวนั้น

ดังนั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการกระทำเช่นนี้ เป็นการลุแก่อํานาจ ในการใช้อํานาจ (กลั่นแกล้งพนักงาน ) อย่างไม่เป็นธรรม 2. ขาดคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีของผู้บริหารระดับสูงในองค์กรของรัฐ 3.ทําลายขวัญและกาลังใจของพนักงานในระดับปฏิบัติงาน 4.สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงาน 5.เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ผิดๆ ขาดหลักธรรมาภิบาล ที่ไม่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งกฎระเบียบของธนาคารในการที่จะลงโทษพนักงาน

สหภาพแรงงานฯ ธพว.จึงขอเรียกร้องให้ 1.ยกเลิกการกระทําตามบันทึกฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ดังกล่าวข้างต้น 2.ยกเลิกคําสั่ง ที่ 20/2557 และคําสั่งที่ 21/2557 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 3.ต้องไม่มีการออกคําสั่งในลักษณะเช่นนี้อีก 4.ขอให้ปฏิบัติหน้าที่แทนรักษาการกรรมการผู้จัดการ นายพงษ์ศักดิ์ ชาเจียมเจน พิจารณาความผิดของตนเอง ในการออกคําสั่งในลักษณะการกลั่นแกล้งพนักงาน ด้วยการลาออก

ที่มา : แนวหน้า

NEWS & TRENDS