สรุป ปี 56 คนไทยแบกหนี้ครัวเรือน 1.5 แสนเบี้ยวหนี้หมื่นล้าน

สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจ รายได้ รายจ่าย และหนี้สินครัวเรือน พบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ครัวเรือนมีรายได้ 25,403 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.6% ขณะที่รายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยเท่ากับ 19,259 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 5.2% ทำให้ครัวเรือนยังมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย 6,144 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ซึ่งจะถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อการชำระหนี้หรือเก็บออม

 


สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจ รายได้ รายจ่าย และหนี้สินครัวเรือน พบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ครัวเรือนมีรายได้ 25,403 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.6% ขณะที่รายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยเท่ากับ 19,259 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 5.2% ทำให้ครัวเรือนยังมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย 6,144 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ซึ่งจะถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อการชำระหนี้หรือเก็บออม

ขณะที่ครัวเรือนมีหนี้สิน 159,492 บาทต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 8.7% อย่างไรก็ตาม สัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ ลดลงจาก 55.8% ในปี 2554 เป็น 54.4% ในปี 2556  โดยหนี้ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ หนี้เพื่อใช้ซื้อหรือเช่าชื้อบ้านและที่ดิน เพิ่มขึ้น 17.0%ต่อปี  หนี้เพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 7.8%ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการซื้อรถยนต์ตามมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก และซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อชดเชยที่เสียหายจากเหตุอุทกภัยในปลายปี 2554 ประกอบกับการจูงใจจากการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ และหนี้เพื่อใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น 3.4% ต่อปี ส่วนหนึ่งจากแรงจูงใจของโครงการรับจำนำข้าวทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก

ในช่วงครึ่งหลังของปี2556 มีแนวโน้มการใช้จ่ายครัวเรือนลดลงเห็นได้จากการข้อมูลด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนลดลง 2.9%  ทำให้ตลอดปีการใช้จ่ายภาคเอกชนลดลง 0.2% ขณะที่ภาระหนี้สินมีแนวโน้มชะลอลง ชี้ให้เห็นจากยอดคงค้างการให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี โดย ณ สิ้นปี 2556 มีมูลค่า 3.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.6% ชะลอลงจาก 21.6% ณ สิ้นไตรมาส 4/55 โดยยอดคงค้างสินเชื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 13.1% การจัดหาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 12.6% และการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถ จักรยานยนต์ 8.4%

อย่างไรก็ตาม การผิดนัดชาระหนี้เพิ่มขึ้น โดย ณ ไตรมาส 4/56 ยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้( NPL) สินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น 26.6% สินเชื่อภายใต้การกำกับผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้น 45.8% หรือเป็นมูลค่า 10,920 ล้านบาท ยอดค้างชำระบัตรเครดิตเกิน 3 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้น 31.3%

"สถานการณ์ดังกล่าวยังเป็นสัดส่วนน้อยในภาพรวมของสินเชื่อ แต่เป็นเครื่องชี้ว่าความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนลดลง ทั้งนี้ แนวโน้มในปี 2557 ภาวะการก่อหนี้เพิ่มเติมและความสามารถในการชำระหนี้เดิมจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนและค่าจ้างของแรงงาน" สภาพัฒน์ระบุ

ที่มา : แนวหน้า

NEWS & TRENDS