แนะผู้ประกอบการปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ "Low Sugar"

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแนะผู้ประกอบการปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ "Low Sugar" หานวัตกรรมใหม่ทดแทนสารให้ความหวาน เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มยอดขาย

 



   กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแนะผู้ประกอบการปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ "Low Sugar" หานวัตกรรมใหม่ทดแทนสารให้ความหวาน เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มยอดขาย

    นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์การลดปริมาณการบริโภคน้ำตาลในชีวิตประจําวัน โดยปริมาณน้ำตาลที่บริโภคควรมีสัดส่วนวันละ 5% ของปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ( 6 ช้อนชา )แต่ไม่ควรเกิน 10%  เนื่องจากการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากอาจมีความเสี่ยงเหมือนกับการสูบบุหรี่  ขณะที่ร่างกายได้รับน้ำตาลในอาหารตามธรรมชาติอยู่แล้ว

    ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของไทย หากจำกัดปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์อาหาร และติดฉลากการคิดคำนวณปริมาณน้ำตาล เพื่อใช้เป็นแนวทางปกป้องผู้บริโภคแล้ว ถือเป็นการตอกย้ำจุดเด่นในสรรพคุณส่วนประกอบอาหารไทยอันเป็นเอกลักษณ์ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ก็จะเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มยอดขายให้กับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพด้วย

     แม้องค์กร WHO ระบุว่าประมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคในแต่ละวันนั้น ไม่ได้คิดคํานวนถึงอาหารที่น้ำตาลอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว อาทิ ผักผลไม้ แอปเปิ้ล แครรอท ฯลฯ แต่คิดจากปริมาณน้ำตาลในอาหารที่ใส่เพิ่ม โดยเฉพาะอาหารแปรรูป เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเบาหวาน  ในขณะที่ผลเสียโดยตรงของบริโภคน้ำมาก ได้แก่ โรคอ้วนและโรคฟันผุ

    การปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์สินค้าที่เน้นสุขภาพมากขึ้น จะเห็นได้ว่ามีสินค้า ประเภท Low Fat, Low Sodium แต่ในอนาคตจะมีสินค้าประเภท Low Sugar หรือนวัตกรรมสินค้าที่ใช้สารความหวานจากสารสกัดธรรมชาติที่ใช้ความหวานอื่นทดแทน (ไม่ใช้สารเคมีความหวานประเภทน้ำตาลเทียม สารแอสปาแตม) ซึ่งผู้ผลิตควรติดตามเทรนด์และนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตอาหาร เพื่อนํามาใช้ประยุกต์ปรับให้เข้ากับสินค้าของตนในอนาคต

NEWS & TRENDS