ส.อ.ท. ชง 7 มาตรการเสนอ คสช. ปฏิรูปเศรษฐกิจ

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม7องค์กรภาคเอกชน ได้มีข้อสรุปแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อเสนอให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีทั้งหมด 7 มาตรการ ได้แก่



    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม7องค์กรภาคเอกชน ได้มีข้อสรุปแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อเสนอให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีทั้งหมด 7 มาตรการ ได้แก่

    มาตรการที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะเรียงลำดับความสำคัญของการเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ว่าจะทำอะไรก่อนหลัง และบูรณาการการทำงานภาครัฐ เพราะต้องร่วมกันทำงานร่วมกันหลายกระทรวง เตรียมกระบวนการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป เพื่อรองรับการหมดอายุของสิทธิพิเศษทางภาษีสหภาพยุโรป (จีเอสพี) ที่จะสิ้นสุดในสิ้นปีนี้ รวมทั้งควรจะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทย โดยการระบุในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐตามระเบียบกรมบัญชีกลางให้ซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศก่อน และควรเร่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)

    มาตรการที่ 2 ปฏิรูปกรอบการลงทุนของภาครัฐและเอกชน โดยการส่งเสริมการใช้กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อระดมทุนและลดภาระของภาครัฐและเอกชน และเพิ่มทางเลือกในการออมของประชาชน และปฏิรูประบบการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ เช่น การสนับสนุนให้มีกลไกด้านการเงินสำหรับการลงทุนในต่างประเทศ การแก้ไขกฎหมายการนำเงินผลกำไรกลับประเทศ ไม่ให้มีการเสียภาษีที่ซ้ำซ้อน การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการที่ต่างประเทศจะมาใช้ไทยเป็นฮับในด้านต่างๆ และเร่งรัดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

    มาตรการที่ 3 ปฏิรูปการศึกษาและนวัตกรรม โดยการส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคีทั้งการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา และสายสามัญ ตลอดจนการสร้างแรงจูงใจจามมาตรการภาษีให้กับเอกชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการศึกษาดังกล่าว และปรับปรุงงบอุดหนุนรายหัวระหว่างสายสามัญและสายอาชีพให้เสมอภาคกัน

    มาตรการที่ 4 แก้ไขปัญหาสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ ภาครัฐควรจะออกมาตรการประกันภัยธรรมชาติภาคการเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร และการสร้างระบบการออมระยะยาว เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมการออมสำหรับแรงงานในระบบ และทบทวน พรบ.กองทุนการออมแห่งชาติสำหรับแรงงานนอกระบบ

    มาตรการที่ 5 ธรรมาภิบาลและการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น โดยการกำหนดให้คดีคอรัปชั่นไม่มีอายุความ และกำหนดให้เป็นคดีร้ายแรงไม่มีการรอลงอาญา การเพิ่มความโปร่งใสของข้อมูลภาครัฐ การกำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เสียหาย ในคดีคอรัปชั่นสามารถฟ้องร้องศาลได้ สนับสนุนเจตนารมณ์ 8 ประการ ขององค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศไทย) และเพิ่มงบประมาณใช้เทคโนโลยีให้กับสำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

    มาตรการที่ 6 การแก้ไขปัญหากฎระเบียบ และกฎหมายต่างๆของภาครัฐ โดยเฉพาะการปรับปรุงระเบียบศุลกากร เช่น พิกัด ค่าปรับ ทบทวนสินบนนำจับของกรมศุลกากร แยกความผิดของความผิดพลาดทางเทคนิกส์ออกจากความผิดเจตนาหนีภาษี หรือขนของเถื่อน โดยให้มีบทลงโทษที่เหมาะสม แก้ไขเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีความเป็นธรรม เช่น เลิกภาระความรับผิดจากบทปรับที่ไม่จำกัด และปรับปรุงกระบวนการออกหรือต่ออายุ work permit ของนักธุรกิจชาวต่างชาติ

    นอกจากนี้ขอให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมออกความเห็นในการออกมาตรการใดๆ ที่กระทบต่อภาคเอกชน เช่น กฎหมายผังเมือง เป็นต้น กำหนดแนวนโยบายระยะยาวด้านแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจน และแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มบทบาทของเอกชนในการช่วยภาครัฐให้บริการแก่ประชาชนให้ดีขึ้น เช่น การออกหนังสือรับรองต่างๆ ,การตรวจทดสอบสินค้า และกิจกรรมส่งเสริมการค้า เป็นต้น

    มาตรการที่ 7 การสร้างโครงสร้างใหม่ในระบบเศรษฐกิจไทย เช่น การปฏิรูปพลังงานที่มุ่งไปสู่กลไกตลาด และไม่แทรกแซงราคาพลังงานในระยะยาว และปรับโครงสร้างหน่วยงานที่ส่งเสริมเอสเอ็มอี ให้รวมศูนย์ครบวงจรอยู่ในหน่วยงานเดียวกัน

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

NEWS & TRENDS