อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น เผยผลสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีในประเทศไทย เกี่ยวกับมุมมองเรื่องบทบาทของไอทีในฐานะเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ในช่วงการเคลื่อนย้ายครั้งสำคัญของ 4 เทรนด์หลักด้านระบบคลาวด์ โมบายล์ โซเชียล และ บิ๊กดาต้า ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง
อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น เผยผลสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีในประเทศไทย เกี่ยวกับมุมมองเรื่องบทบาทของไอทีในฐานะเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ในช่วงการเคลื่อนย้ายครั้งสำคัญของ 4 เทรนด์หลักด้านระบบคลาวด์ โมบายล์ โซเชียล และ บิ๊กดาต้า ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง
อิทธิพลของ 4 เทรนด์หลักที่สำคัญนี้จะเปลี่ยนแปลงพื้นฐานความคาดหวังของผู้คน และผู้ใช้งานที่มีความต้องการการสื่อสารระหว่างกันผ่านทางออนไลน์มากขึ้น จากทุกแห่งหนและทุกเวลา ทำให้ไอทีกลายเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ไอทีเคยถูกกำหนดหน้าที่ในการทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และผลักดันให้ค่าใช้จ่ายลดลง
แต่จากผลสำรวจจาก ‘อีเอ็มซีฟอรั่มเซอร์เวย์’ (EMC Forum Survey) เผยให้เห็นว่า ในส่วนของประเทศไทย ไอทีกำลังกลายเป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ และสร้างช่องทางในการติดต่อ สื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากผลการสำรวจ เทรนด์ที่สำคัญทั้ง 4 อันได้แก่ ระบบคลาวด์ โมบายล์ โซเชียล และ บิ๊กดาต้านี้ มีอิทธิพลต่อเรื่องสำคัญสามอันดับแรก คือ ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า (ร้อยละ 35) ช่วยสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ (ร้อยละ 29) และช่วยในการบริหารจัดการงานสำคัญๆ ของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ร้อยละ 26)
องค์กรต่างๆ กำลังเคลื่อนย้ายไปยังคลาวด์เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 54 ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยว่าการผสมผสานคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) เข้ากับคลาวด์ภายในองค์กร (Private Cloud) ช่วยให้มีความปลอดภัย และความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องฝ่าฟันเพื่อให้บรรลุถึงการนำศักยภาพสูงสุดของการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งาน
ไอทีเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ
• ร้อยละ 69 ของผู้ตอบแบบสอบถาม รายงานว่าความคิดของผู้บริหารระดับสูงและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านต่างๆ ที่คิดว่าไอทีเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตนั้นมีมากขึ้นกว่าที่เคยมีมาก่อน
• องค์กรธุรกิจในประเทศไทย ได้จัดลำดับความสำคัญในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งานในองค์กร สามอันดับแรก คือ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้ามากขึ้น (ร้อยละ 29) เพื่อนำนวัตกรรมที่มีไปใช้กับสายการผลิตและการให้บริการ (ร้อยละ 29) และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขายและการตลาด (ร้อยละ 25)
• ร้อยละ 62 ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย เห็นด้วยว่าองค์กรของพวกเขามองว่าการเพิ่มขึ้นของระบบอัตโนมัติ เช่น สตอเรจที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (software defined storage) เป็นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจ
การใช้ประโยชน์จาก 4 เทรนด์หลัก (โมบายล์ โซเชียล คลาวด์ และ บิ๊กดาต้า)
• ร้อยละ 63 ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย คาดหวังว่าเทคโนโลยียุคใหม่ เช่น โมบายล์ โซเชียล คลาวด์ และ บิ๊กดาต้า จะช่วยให้องค์กรของพวกเขามีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
• ในปีต่อๆ ไป สิ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นลำดับแรกๆ จากอิทธิพลของ 4 เทรนด์หลักเหล่านี้คือ การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า (ร้อยละ 35) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ (ร้อยละ 29) และการบริหารจัดการงานสำคัญๆ ทางธุรกิจ (ร้อยละ 26)
• จากการที่ธุรกิจต่างๆ ใช้ออนไลน์ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้นในปัจจุบัน ร้อยละ 54 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ความจำเป็นในการใช้คลาวด์ลูกผสมหรือไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) และคลาวด์ภายในองค์กร (Private Cloud) เป็นวิธีการที่จะเพิ่มความคล่องตัวและเพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำงานขององค์กรได้อย่างมาก
อนาคตของไอที
• มีเพียงร้อยละ 66 ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย เชื่อว่าองค์กรของพวกเขา มีทักษะและความรู้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะดำเนินธุรกิจสำคัญให้ประสบความสำเร็จได้ตามความคาดหวัง
• 1 ใน 2 (ร้อยละ 52) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ความท้าทายขององค์กรของพวกเขาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คือ การฝึกอบรมด้านไอทีให้กับพนักงานเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เป็นเทรนด์หลักต่างๆ
• แม้ว่าร้อยละ 69 ของผู้ตอบแบบสอบถามจากบริษัทต่างๆ จะเห็นว่าไอทีเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ บริษัทส่วนใหญ่อีกร้อยละ 57 กลับเชื่อว่าการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีอยู่นอกเหนือการควบคุมของฝ่ายไอที แสดงให้เห็นว่าฝ่ายไอทียังคงต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจและเห็นความสำคัญของไอที
• ร้อยละ 66 ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าแผนกไอทีในอนาคต จะอยู่ในรูปแบบผู้ให้บริการแบบ ออนดีมานด์ภายในของบริษัท เช่น แพลตฟอร์ม-แอส-อะ-เซอร์วิส (platform-as-a-Service) คลาวด์สาธารณะ และคลาวด์ภายในองค์กร