​มองรัฐช่วย SMEs ค้ำประกันบิดเบือนตลาดน้อยได้ประสิทธิภาพ

ในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2557 ได้มีวิเคราะห์ถึงกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของภาครัฐและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ถือว่ามีบทบาทสาคัญต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ อาทิ การจ้างงาน การส่งออก และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ



    ในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2557 ได้มีวิเคราะห์ถึงกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของภาครัฐและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ถือว่ามีบทบาทสาคัญต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ อาทิ การจ้างงาน การส่งออก และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 

    อย่างไรก็ดี SMEs ยังมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการ เนื่องจากไม่มีหลักประกัน ประวัติการชำระเงิน และงบการเงินที่น่าเชื่อถือ กลไกสำคัญหนึ่งของภาครัฐที่ช่วยให้ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อ จากสถาบันการเงินได้มากขึ้น คือ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกันที่เพียงพอ จึงทำให้ยอดภาระค้ำประกันสะสมเติบโตต่อเนื่อง แม้ยังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

    บทวิจัยนี้พบว่า การค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee เป็นเครื่องมือจัดสรรสินเชื่อสู่ SMEs ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องมืออื่น โดยทำให้ SMEs มีโอกาสได้รับสินเชื่อมากขึ้น และใช้หลักประกันน้อยลงและได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับ SMEs ที่ไม่ได้รับการค้ำประกัน แต่โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันสูงกว่าลูกหนี้ที่ไม่ได้รับการค้ำประกัน 

    ทั้งนี้ ประโยชน์ของการค้ำประกันมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคธุรกิจและแต่ละสถาบันการเงิน จึงอาจพิจารณารูปแบบการค้ำประกันสินเชื่อพิเศษสำหรับบางภาคธุรกิจที่ได้รับประโยชน์มากกว่าภาคธุรกิจอื่น อาทิ ธุรกิจภาคบริการ และอาจพิจารณากำหนดกลไกสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินบริหารสินเชื่อที่ได้รับการประกันอย่างรัดกุม ขณะที่กำหนดให้ลูกหนี้ยังต้องวางหลักประกันจำนวนหนึ่ง เพื่อลดแรงจูงใจในการผิดนัดชำระหนี้

    ผู้วิจารณ์เห็นด้วยกับข้อสรุปของงานวิจัยนี้ว่า การค้ำประกันเป็นเครื่องมือของรัฐที่มีประสิทธิภาพมาก ในการช่วยเหลือ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากมีการบิดเบือนกลไกตลาดน้อยที่สุด และเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงแก่ธนาคารในการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบ ซึ่งหลายประเทศใช้กลไกนี้และประสบผลสาเร็จ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน และเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะจากงานวิจัยในด้านการเพิ่มกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และแนวทางป้องกันการผิดนัดชาระหนี้ทั้งในแง่สถาบันการเงินและผู้กู้ 

    อย่างไรก็ดี หากมีข้อมูลการให้สินเชื่อทุกระดับวงเงิน จะทำให้งานวิจัยสมบูรณ์มากขึ้น เนื่องจากการค้ำประกันเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญต่อ SMEs ที่ได้รับวงเงินค่อนข้างต่ำ และควรมีการศึกษาเชิงลึกในอีกหลายมิติของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในแต่ละภาคธุรกิจ อาทิ พฤติกรรมของผู้กู้ และลักษณะของภาคธุรกิจ เพื่อนำไปสู่นโยบายสนับสนุนที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด


NEWS & TRENDS