นักวิชาการเผยปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การศึกษา ที่อยู่ในภาวะล้มเหลว แนะยกเลิกนโยบายประชานิยมต่างๆ ที่เอาแต่แจก
นักวิชาการเผยปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การศึกษา ที่อยู่ในภาวะล้มเหลว แนะยกเลิกนโยบายประชานิยมต่างๆ ที่เอาแต่แจก
นายกนก วงษ์ตระหง่าน อดีตศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 58 เรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ : ทุน คน ที่ดิน จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือเรื่องของการศึกษาที่ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังภาคเศรษฐกิจ เพราะปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยอยู่ในภาวะล้มเหลว สะท้อนได้จากผลสอบวัดความรู้ของเด็ก ในระดับการศึกษาสามัญ คะแนนของเด็กตกต่ำลงเรื่อย ๆ
ขณะเดียวกัน งบประมาณด้านการศึกษาของไทย ใช้เงินมหาศาลถึง 500,000 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่ได้ยกระดับการศึกษาให้ดีขึ้น เนื่องจากประเทศไทย เน้นการลงทุนนอกภาคการศึกษามากกว่าเรื่องเรียน ซึ่งแท้ที่จริงใช้เงินเพียงแค่ไม่กี่หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ด้านบุคลากรครูก็ให้ความสำคัญกับเรื่องรายได้มากกว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กนักเรียน จึงทำให้ระบบการศึกษาไทยไม่ดีขึ้น
"แนวทางแก้ไขจำเป็นต้องมีปฏิรูปทั้งระบบ เช่น ครู จะต้องมีความรู้ในวิชาที่สอน รักนักเรียนจริง และภูมิใจในวิชาที่สอน รวมทั้ง จึงอยากให้ครูอาวุโสกลับไปนั่งดูการเรียนการสอนของครูยุคใหม่ในชั้นเรียน เพื่อหาจุดบกพร่องมาแก้ไขในชั้นเรียน ส่วนแนวทางที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก คือ นโยบายประชานิยมต่างๆ เอาแต่แจก ขอให้เลิก"
ที่มา : www.daliynews.co.th