อดีตเลขาอังค์ถัดชี้ปี 58 เศรษฐกิจโลกเสี่ยงผันผวน การลดดอกเบี้ยไม่ช่วยอะไร ชี้รัฐควรหันไปสนับสนุนท่องเที่ยว เพราะเม็ดเงินลงรากหญ้ากระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีกว่า
อดีตเลขาอังค์ถัดชี้ปี 58 เศรษฐกิจโลกเสี่ยงผันผวน การลดดอกเบี้ยไม่ช่วยอะไร ชี้รัฐควรหันไปสนับสนุนท่องเที่ยว เพราะเม็ดเงินลงรากหญ้ากระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีกว่า
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและ การพัฒนา (อังค์ถัด) กล่าวในงานสัมมนาภาพรวมเศรษฐกิจและการลงทุน 2015 จัด โดยธนาคารทหารไทย ว่า ปัจจัยเสี่ยงปีหน้าคือ ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยัง ผันผวน โดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่นไม่ใช่ปัญหาการเมืองในประเทศ ดังนั้นการลด ดอกเบี้ยไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจกระเตื้อง เห็นว่ารัฐควรสนับสนุนการท่อง เที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าการลงทุนโครงการภาครัฐ เพราะเม็ดเงินจะลง สู่รากหญ้าโดยตรง เนื่องจากวงเงินที่จัดสรรด้านการท่องเที่ยวปี ละ 300,000-400,000 ล้านบาทจะกระตุ้นเศรษฐกิจ 3-4 เท่า แต่ภาครัฐต้องมีการ ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวของไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้มากขึ้น ส่วน การลงทุนโครงการภาครัฐระหว่างทางมีการดูดไอศกรีมและเงินลงทุนผ่านหลายทางทำ ให้กระตุ้นเศรษฐกิจไม่เต็มที่
ขณะที่ปีนี้เศรษฐกิจไทยพบอุปสรรคทั้งภายในและต่างประเทศ จีดีพี โต เพียง 1% กว่าแต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปีหน้า ผ่านงบประมาณ ต่าง ๆ เห็นผลเป็นรูปธรรมครึ่งปีหลังของปี 58 โดยเฉพาะแผนการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐาน อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของรัฐบาลไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายงบ ประมาณ แต่เครื่องวัดความสำเร็จอยู่ที่ภาคเอกชนลงทุนเพิ่ม ซึ่งปีหน้ามองว่า การลงทุนเอกชนจะเพิ่มอีก 3-5% จากก่อนหน้านี้เอกชนลงทุนติดลบ 2-3% ซึ่ง กังวลว่าถ้าเอกชนลงทุนน้อยเกินไปอาจกระทบเศรษฐกิจเหมือนกับยุโรป ส่วนจีดีพี ปีหน้าโต 4-5% จากการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่ม ขึ้น นอกจากนี้ต้องการให้รัฐพัฒนาเทคโนโลยี แรงงานการกระจายสินค้ารองรับการ แข่งขันในอนาคต ส่วนค่าเงินบาทมองว่าใน 10 ปีข้างหน้า ค่าเงินบาทจะต่ำ กว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง"
ด้านนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ กล่าวใน งานเสวนาเอสเอ็มอี กับความมั่นคงรากฐานเศรษฐกิจไทย จัดโดยนิตยสารเส้นทาง เศรษฐี ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของภาครัฐที่ประกาศออกมา เชื่อ ว่าจะไม่ส่งผลให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวในปี 58 มากนัก เพราะขณะนี้คนไทย กำลังประสบปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงและกำลังซื้อลดลงสิ่งที่ภาครัฐควร สนับ สนุน สร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดกลาง เพราะจะ เป็นฐานสำคัญทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง เกิดการจ้างงานอย่างแท้ จริง และที่สำคัญจะช่วยลดการเหลื่อมล้ำให้กับระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
ทั้งนี้ ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันธุรกิจเอสเอ็มอี ควรดำเนินการ 2 เรื่องหลัก คือ มี วินัยทางการเงิน และทำธุรกิจที่ชำนาญ อย่าออกนอกกรอบ เช่น ทำอุตสาหกรรมแล้ว ย้ายไปทำอสังหาริมทรัพย์ เพราะมีความเสี่ยงสูง และต้องเร่งบริหารต้นทุนให้ เกิดประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้านำคู่แข่งมาเป็นพันธมิตรเพื่อผลักดัน ธุรกิจให้เติบโต และต้องรู้จักบริหารจัดการคน จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แน่นอน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์