นายจ้างกว่า 37,000 รายทั่วโลกเจอปัญหาไร้คนทำงาน

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป สรุปผลสำรวจนายจ้าง 37,000 ราย ใน 42 ประเทศ พบร้อยละ 36 เกิดปัญหาขาดแคลนบุคลากร สูงสุด คือ แรงงานฝีมือ และวิศวกร อันดับ 2 ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน เหตุผลหลัก คือ ผู้สมัครขาดความสามารถสำคัญที่เกี่ยวกับงาน ร้อยละ 47 แก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ด้วยแนวทางการบริหารบุคลากร..



             แมนพาวเวอร์กรุ๊ป สรุปผลสำรวจนายจ้าง 37,000 ราย ใน 42 ประเทศ พบร้อยละ 36 เกิดปัญหาขาดแคลนบุคลากร สูงสุด คือ แรงงานฝีมือ และวิศวกร อันดับ 2 ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน เหตุผลหลัก คือ ผู้สมัครขาดความสามารถสำคัญที่เกี่ยวกับงาน ร้อยละ 47 แก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ด้วยแนวทางการบริหารบุคลากรแบบใหม่ แมนพาวเวอร์ชี้ การแก้ไขปัญหาอยู่ที่คุณสมบัติของ ฝ่าย HR ยุคใหม่ ที่ต้องก้าวทันโลก ด้วย 3 ข้อสำคัญ คือ 1. ฝ่าย HR ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านอุปสงค์ และอุปทานของตลาด 2. ฝ่าย HR ต้องเป็นนักการตลาด และ 3. ฝ่าย HR ต้องเป็นนักออกแบบ

          จากผลสำรวจปัญหาการขาดแคลนบุคลากรประจำปี ครั้งที่ 9 ของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทยจาก นางสาวสุธิดา  กาญจนกันติกุล, ผู้จัดการฝ่ายการตลาดแมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้ให้ความเห็นว่า แมนพาวเวอร์ กรุ๊ป ได้สัมภาษณ์นายจ้างกว่า 37,000 ราย ใน 42 ประเทศและดินแดนพบว่าจำนวนมากถึงร้อยละ 36ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในปี 2557 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปีนอกจากนั้นแล้ว ร้อยละ 54 ของนายจ้างพบว่า การขาดแคลนบุคลากร ส่งผลกระทบระดับกลางถึงระดับสูงต่อความสามารถของบริษัท ในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ซึ่ง 10 ตำแหน่งงานที่ขาดแคลนบุคลากรมากที่สุด คือ 1. แรงงานฝีมือ 2 . วิศวกร (เป็นอันดับ 2 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3) 3. ช่างเทคนิค (สูงขึ้นจากปีที่ผ่าน) 4. ตัวแทนขาย (ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ)  5. พนักงานบัญชี 6. ผู้บริหาร 7. ผู้จัดการฝ่ายขาย (จากเดิมอันดับที่ 12 ในปี 2013) 8. พนักงานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 9. พนักงานผู้ช่วยในสำนักงาน 10. พนักงานขับรถ นอกจากนี้แล้ว กลุ่มพนักงานใช้แรงงานหลุดจาก 10 อันดับแรก เนื่องจากตลาดมีความต้องการน้อยลง ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

            ปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลให้หน่วยงาน องค์กร ขาดแคลนบุคลากร คือ ผู้สมัครขาดความสามารถเฉพาะด้านที่จำเป็นสำหรับงาน และเหตุผลอื่นๆ รองลงมา คือ การขาดแคลนผู้สมัครที่พร้อมจะทำงาน ผู้สมัครขาดประสบการณ์หรือทักษะที่มีคุณค่าต่อองค์กร และผู้สมัครมีความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกันกับเงื่อนไขของบริษัท จึงนำมาซึ่งมาตรการในการแก้ไขปัญหา การขาดแคลนบุคลกร โดยใช้แนวทางการบริหารบุคลากรแบบใหม่ (ร้อยละ 47), สรรหาจากกลุ่มคนที่ยังไม่ถูกชักชวนให้เข้าทำงานหรือมีการชักชวนไม่มาก (ร้อยละ 25) และ เตรียมใช้รูปแบบการทำงานแบบใหม่เป็นทางเลือก (ร้อยละ 23) สถิตจากปี 2556 - 2557ถึงผลกระทบของปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีต่อองค์กร เผยว่า อันดับ 1ร้อยละ 41 ทำให้ความสามารถในการให้บริการลูกค้าลดลง อันดับ 2ร้อยละ 40 ทำให้ความสามารถในการแข่งขัน และ
 
     ประสิทธิภาพในการผลิตด้อยลง  อันดับ 3ร้อยละ 27 ทำให้มีอัตราการเข้าออกของพนักงานมากขึ้น  อันดับ 4 ร้อยละ 24 ทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ และความคิดสร้างสรรค์น้อยลง และร้อยละ 24 ทำให้ความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร และขวัญกำลังใจของพนักงานแย่ลง อันดับ 5 ร้อยละ 22 ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ในด้านค่าตอบแทนในการทำงาน
    
    สุธิดา กล่าวต่อว่า โจทย์นี้อยู่ที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรอบรู้ และมีอิทธิพลในการปรับฐานกำลังด้านบุคลากรของบริษัทโดยการทำงานที่มีการตัดสินใจที่ชัดเจนเพื่อให้บริษัทสามารถบริหารกำลังคนได้อย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน ซึ่งอาชีพด้าน HR นั้นกำลังเปลี่ยนแปลง และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกของการทำงานมีวิวัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่อง ความเชี่ยวชาญด้านใหม่ๆ มีความจำเป็นต่อผลสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งบทบาทที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1. ฝ่าย HR ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านอุปสงค์ และอุปทานของตลาด 2. ฝ่าย HR ต้องเป็นนักการตลาด และ 3. ฝ่าย HR ต้องเป็นนักออกแบบ

            จากที่มีการคาดการณ์ถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นายจ้างร้อยละ 36 ยังคงพบกับภาวะยากลำบากในการหาคนเข้าทำงาน ในขณะเดียวกับที่การว่างงานก็ยังคงเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มีแรงงานที่ล้นตลาดอยู่พร้อมๆ กับการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับงาน ฝ่าย HR สามารถช่วยบริษัทให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจได้เร็วขึ้น โดยการประเมินแหล่งบุคลากรที่มีความสามารถขององค์กร แนวปฏิบัติด้านบุคลากร และรูปแบบการทำงาน  สุธิดากล่าวสรุป
           

NEWS & TRENDS