กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดพิธีลงนามความร่วมมือด้านวิชาการและด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง3 ภาคี คือ กลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และผู้ประกอบการซัพพลายเออร์เครื่องสำอาง
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดพิธีลงนามความร่วมมือด้านวิชาการและด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง3 ภาคี คือ กลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และผู้ประกอบการซัพพลายเออร์เครื่องสำอาง
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่าปัจจุบันเครื่องสำอางเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้นเนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและความงามเพิ่มขึ้นส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีมูลค่าตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยธุรกิจเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมีมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจกว่า 2.1 แสนล้านบาท
แบ่งเป็นตลาดในประเทศประมาณ1.2 แสนล้านบาทหรือร้อยละ 60 และตลาดส่งออกกว่า 9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของธุรกิจเครื่องสำอางของประเทศไทย(ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2556)โดยครองส่วนแบ่งตลาดอาเซียนเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 40 เนื่องจากอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของไทยมีความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบความชำนาญและคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญา
ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ประกอบการในกลุ่มเครื่องสำอางไทยทั้งประเทศมีประมาณ762 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางขนาดเล็กประมาณ520 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 68ขนาดกลาง220ราย หรือร้อยละ29และธุรกิจขนาดใหญ่ 22รายคิดเป็นร้อยละ3โดยแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม ผลิตภัณฑ์สำหรับใบหน้า ผลิตภัณฑ์สำหรับร่างกาย เครื่องหอม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ การแข่งขันในตลาดเสรีย่อมทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมในหลายด้าน อาทิ ต้นทุนการผลิตนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางของไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)จึงได้จัดตั้งคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย(ThaiCosmeticCluster)เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยให้มีความเข้มแข็งและประสานความร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพร่วมกันซึ่งเป็น 1 ใน 68 คลัสเตอร์ที่ทาง กสอ.ได้ส่งเสริมพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (ClusterDevelopment)ตั้งแต่ปี 2549 โดยกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมชา จังหวัดเชียงราย กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จังหวัดกระบี่ กลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลหะ กรุงเทพฯ และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอเพชรเกษมเป็นต้นนายอาทิตย์ กล่าว
นายอาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางให้สามารถรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนบุคลากร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยและการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาหลักสูตรทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งการจัดอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เพื่อก่อให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาสร้างนวัตกรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือในระดับโซ่อุปทาน(SupplyChain)ที่จะบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและกิจกรรมจากอุตสาหกรรมต้นน้ำ(Upstream)กลางน้ำ(MiddleStream) และปลายน้ำ(Downstream)จะส่งผลให้การประกอบธุรกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์กระแสความต้องการของผู้บริโภคในตลาดสากล