นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่าภาพรวมของตลาดค้าปลีกในปี 2558 จะมีการขยายตัวได้ 6.3% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 9 แสนล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียง 3.2 % โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้นตาม แต่อ..
นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่าภาพรวมของตลาดค้าปลีกในปี 2558 จะมีการขยายตัวได้ 6.3% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 9 แสนล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียง 3.2 % โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้นตาม แต่อย่างไรก็ดีการเติบโตดังกล่าวยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่ตลาดรวมมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี
โดยธุรกิจค้าปลีกในปีที่ผ่านมา ผ่านมา กลุ่มคอนวีเนียนสโตร์มีอัตราการเติบโตขึ้น 4% ซูเปอร์มาร์เก็ตเติบโตขึ้น 6.5% ซูเปอร์เซ็นเตอร์เติบโตขึ้น 2.6% ดีพาร์ทเมนท์สโตร์เติบโตขึ้น 3.4% และกลุ่มร้านค้าเฉพาะทางเติบโตขึ้น 2.7%
อย่างไรก็ตาม สมาคมยังต้องให้รัฐบาลหามาตรการต่างๆเข้ามาช่วยกระตุ้นกระตุ้นอุตสาหกรรมค้าปลีก โดยเฉพาะเร่งรัดการลงทุนโครงการต่างๆ และควรหามาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศไปยังผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง ซึ่งกำลังซื้อยังค่อนข้างแข็งแรง เพื่อให้เม็ดเงินกระจายสู่ภูมิภาคและจังหวัดต่างๆ
นอกจากนี้ควรพิจารณาปรับลดภาษีนำเข้าสินค้า International Luxury Brand เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง เข้ามาท่องเที่ยวในไทย อีกทั้งควรประกาศให้ เกาะภูเก็ต เป็นเขตปลอดภาษี เพื่อสอดรับกับนโยบาย Thailand Shopping Destination และในกรณีที่กำลังซื้อยังอ่อนแอต่อเนื่อง ภาครัฐอาจต้องพิจารณาลดภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 7%ลง 1-2% หรือเหลือประมาณ 5-6% ในระยะสั้นๆ ประมาณ 6 เดือน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาครัฐ บ้างแต่ในสถานการณ์ที่เงินเฟ้อต่ำและกำลังซื้ออ่อนแอ การลดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะช่วยให้การจับจ่ายเติบโตประมาณ 3-4%
ทั้งนี้จากการที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ของไทยในปี 2557 ว่าอยู่ที่ 0.8% สะท้อนว่าบรรยากาศการจับจ่ายยังไม่เติบโตเท่าที่ควร โดยผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้เงินอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สินค้าหมวดคงทนเติบโตเพียง 2.7% ลดลงจากปี 2556 ซึ่งเติบโตที่ 8.5% ในส่วนหมวดสินค้ากึ่งคงทนเติบโตได้ 3.4% และสินค้าไม่คงทนซึ่งเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันมีตัวเลขการจับจ่ายเติบโตที่ 2.1% สะท้อนถึงกำลังซื้อในระดับผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยได้รับผลกระทบจากหนี้สินของครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์สูง นอกจากนี้ประชาชนทั่วไปยังระมัดระวังการจับจ่ายสูง
ที่มา แนวหน้า