เอสเอ็มอีไทย-ญี่ปุ่น ดันต่อยอดเทคโนโลยี

ถึงไทยจะไม่ใช่ฐานการผลิตในดวงใจอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น แต่ภาคการผลิตไทยยังมีรายได้จากการผลิตสินค้ารองรับญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท /ปี



    ถึงไทยจะไม่ใช่ฐานการผลิตในดวงใจอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น แต่ภาคการผลิตไทยยังมีรายได้จากการผลิตสินค้ารองรับญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท /ปี 

    กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมวางเป้าหมายสิ้นปี 2558 จะเซ็น MOU เพื่อร่วมลงทุน และถ่ายทอดเทคโนโลยี จากญี่ปุ่นรวม 14 เมือง 

    ในเดือนมกราคมมีการ MOU เพิ่มอีก 2 เมือง คือ เมืองมินามิโบโซ และเมืองฟุกุโอกะ โดยจุดเด่นของเมืองมินามิโบโซ คือ เรื่องการจัดการสินค้า OTOP ทั้งในด้านการแปรรูป สินค้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัด กว่า 100 ชนิด และการตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าริมทางในนาม Biwa Club ในการนี้ทาง กสอ. ได้มีความร่วมมือในด้านการนำผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนของไทยส่งไปทดลองตลาดโดยการจำหน่ายที่ศูนย์ดังกล่าวโดยได้พาคณะจากเมืองมินามิโบโซไปเยี่ยมชมคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ OTOP คอมเพลกซ์สระบุรี จ.สระบุรี และศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP จ.สุโขทัย 

    ส่วนเมืองฟุกุโอกะนั้นจะเน้นความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงอาหารด้วย

    โดยหลังจากนี้จะมีการ MOU กับเมืองต่าง ๆ อีก 4 เมือง ไก้แก่ เมืองอิชิกาว่า เมืองซูวะ เมืองเฮียวโกะ และเมืองมิเอะ ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องจักร/สิ่งทอ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม และพลังงาน/การต่อรถบัส ตามลำดับ

    นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ผลการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม หลังจากการเริ่ม MOU ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 ทั้ง 7 เมืองได้แก่ ไซตามะ 

    ยามานาชิ อะคิตะ โทตโทริ ชิมาเน่ ไอจิ และคาวาซากิ มีการร่วมมือไปแล้วทั้งสิ้น 573 บริษัท โดยในจังหวัดไอจิมียอดการลงทุนในไทยสูงสุด โดยมีการลงทุนในไทยแล้ว 284 บริษัท เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอากาศยาน ซึ่งในด้านชิ้นส่วนอากาศยานไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีจนสามารถผลิตเพื่อรองรับการผลิตเครื่องบินให้แก่แบรนด์มิตซูบิชิที่เริ่มดำเนินการผลิตเครื่องบินพานิชย์ก้าวข้ามองค์ความรู้ในการผลิตเพียงแค่ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผ่านมาซึ่งเริ่มมีคู่แข่งในประเทศอินโดนีเซียและเวียดนามที่เริ่มมีความก้าวหน้าและได้เปรียบเรื่องค่าแรง

    รองลงมาคือ จังหวัดไซตามะ มียอดการลงทุนในไทย จำนวน 96 บริษัท จังหวัดนี้ความโดดเด่นด้านอุตสาหกรรมเกี่ยวกับแพทย์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

NEWS & TRENDS