จากงาน สัมมนา "Follow Your Dreams … จุดประกาย Big Idea กับ Startup เงินล้าน" ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยมี 2 สตาร์ทอัพคนไทยที่สามารถสร้างอาณาจักรธุรกิจตัวเองผ่านการเริ่มต้นจากการเป็นสตาร์ทอัพ
จากงาน สัมมนา "Follow Your Dreams … จุดประกาย Big Idea กับ Startup เงินล้าน" ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยมี 2 สตาร์ทอัพคนไทยที่สามารถสร้างอาณาจักรธุรกิจตัวเองผ่านการเริ่มต้นจากการเป็นสตาร์ทอัพ
เริ่มต้นที่ นายไผท ผดุงถิ่น ผู้ก่อตั้ง Builk.com ที่รวมคนและระบบบริหารธุรกิจก่อสร้างผ่านระบบซอฟท์แวร์ ให้คนสร้างบ้านหาผู้รับเหมา คนรับเหมาหาวัสดุ และแบรนด์ก็สามารถวิเคราะห์ตลาดได้ นายผไทกล่าวว่า ธุรกิจในปัจจุบันต้องประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ ความเป็นธุรกิจ สองมีไอที และสามมีครีเอทีฟ สตาร์ทอัพจึงเป็นอาชีพที่ตรงเทรนด์ เป็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ดีวิธีหนึ่งเหมาะสำหรับเอสเอ็มอี ซึ่งการหาเงินทุนก็โดยผ่านการ pitch งานบนเวทีต่าง ๆ ซึ่งเวทีหลัก ๆ ก็คือ สิงคโปร์ อเมริกา ญี่ปุ่น หรืออาจจะใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตผ่าน Kickstarter แต่ทั้งนี้สตาร์ทอัพต้องมีนิสัยยอมรับการถูกท้าทายได้ ถูกปฏิเสธได้ เพราะแผนธุรกิจอาจจะไม่โดนพอ รวมถึงสตาร์ทอัพเป็นธุรกิจที่ต้องแอคทีฟเสมอ เพราะจะมีคนที่ทำธุรกิจเหมือนเราแล้วทำได้ดีกว่า ราคาถูกกว่า ทันศคติของสตาร์ทอัพจึงต้องมีการคิด เพิ่มสิ่งใหม่ ๆ ลงไปในธุรกิจอยู่เสมอ จะหยุดนิ่งไม่ได้
นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้ง OOKBEE แอปพลิเคชั่นอ่านหนังสือที่กินตลาดอีบุ๊กเมืองไทย 88% มียอดผู้ใช้ปัจจุบัน 2.5 ล้านราย มีหนังสือถูกดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 6 ล้านเล่ม กล่าวว่า ข้อดีของสตาร์ทอีพ คือ เป็นธุรกิจที่มีจขนาดเล็ก เคลื่อนไหวเร็ว เกิดเร็ว ใช้ลงทุนค่อนข้างถูก และมีช่องทางในการระดมทุนแบบทั่วโลก ล่าสุด ookbee ขยายตลาดไปลุยตลาดอาเซียนโดยเริ่มมีงานจากประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา รองรับผู้อ่านจากกลุ่มประเทศดังกล่าวแล้ว รวมถึงมีการเพิ่มลูกเล่นใหม่ ๆ อย่างการอ่านแบบบุฟเฟ่ต์ เป็นต้น
ส่วนรูปแบบของสตาร์ทอัพนอกเหนือจาก เทค-สตาร์ทอัพ ก็จะเป็นแบบฮาร์ดแวร์มากขึ้น คือ จะเป็นงานที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น ล่าสุดมีกลุ่มสตาร์ทอัพนักศึกษาคิดเครื่องมือที่สามารถเชื่อมต่อกับรถยนต์แล้วสามารถเช็กสภาพการทำงานของรถว่ามีการทำงานไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ใกล้จะถึงสภาพที่ต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุง สามารถระดมทุนไปได้เป็นหลักล้านบาท ซึ่งช่องทางเหล่านี้มีอยู่มากมาย
แม้จะมีข้อดีมาก แต่สตาร์ทอัพถึง 90% ที่เจ๊ง ส่วนอีก 8% ไม่มีการเติบโต มีเพียง 2% ที่สามารถทำตามเป้าหมายและยังดำเนินธุรกิจได้
โดยทั้งสองท่าน มองว่า อนาคตสตาร์ทอัพจะเป็นกระแสที่คนรุ่นใหม่หันมานิยมมากขึ้น เนื่องจากเทรนด์ของคนรุ่นใหม่คือ การเป็นวัฒนธรรมการเป็นเจ้าของธุรกิจมีการก่อตัวขึ้นในประเทศไทย บวกกับกระแสนักลงทุนที่หันมาลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพโดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาที่นิยมมาลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งในไทยเอง มีการระดมทุนในสตาร์ทอัพในประเทศไทยถึง 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 2,500 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา
ที่มา ประชาติธุรกิจออนไลน์