ผู้ประกอบการชุมชน-โอท็อปทั่วประเทศได้เฮ เอสเอ็มอีแบงก์เตรียมปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 2-3 หมื่นล้านบาท แก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ตามนโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศของรัฐบาล คสช. เปิดตัวโครงการ 16 กุมภาพันธ์นี้
ผู้ประกอบการชุมชน-โอท็อปทั่วประเทศได้เฮ เอสเอ็มอีแบงก์เตรียมปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 2-3 หมื่นล้านบาท แก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ตามนโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศของรัฐบาล คสช. เปิดตัวโครงการ 16 กุมภาพันธ์นี้
นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารมั่นใจว่าสินเชื่อใหม่ในปี 2558 จะถึงเป้า 4 หมื่นล้านบาท ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ พร้อมกับติดตามสินเชื่อเดิมอย่างใกล้ชิด โดยจัดทีมงานตรวจสอบและแก้ปัญหาในการผ่อนชำระโดยตรง เป้าหมายลดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปี 2558 ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท จากสิ้นปี 2557 มี 3.1 หมื่นล้านบาท แต่จะให้เอ็นพีแอลลดลงเหลือ 1.3 หมื่นล้านบาท ตามเป้าหมายที่ทางคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซุปเปอร์บอร์ดกำหนดไว้ ต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
นางสาลินีกล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำให้เป็นรูปธรรมนั้น เอสเอ็มอีแบงก์จะเข้าไปช่วยในเรื่องการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการชุมชนหรือโอท็อปทั่วประเทศ โดยจะมีหน่วยงานของรัฐในกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะนำเงินมาฝากที่ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารนำไปปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการโอท็อป ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ต่ำกว่าตลาด ซึ่งมีหน่วยงานราชการใน 2-3 กระทรวงเห็นด้วยกับแนวทางและจะนำเงินมาฝาก คาดเปิดตัวโครงการภายใน 2 สัปดาห์ หรือภายในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558
"วงเงินหน่วยงานของรัฐที่จะนำมาฝาก เบื้องต้นได้รับรายงานว่า จะมาจากวงเงินกองทุนหมุนเวียน 2-3 หมื่นล้านบาท และประมาณ 1 หมื่นล้านบาท มาฝากกับเอสเอ็มอีแบงก์เพื่อปล่อยกู้ผู้ประกอบการโอท็อป ทางแบงก์จะคิดต้นทุนเงินฝาก 1% ทำให้แบงก์สามารถคิดอัตราเบี้ยปล่อยกู้พิเศษได้ 5% จากปัจจุบันอยู่ที่ 7%" นางสาลินีกล่าว
นางสาลินีกล่าวว่า ส่วนการพิจารณาชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปล่อยกู้ตามนโยบายภาครัฐ (พีเอสเอ) 8 โครงการ วงเงินปล่อยกู้ 2 หมื่นล้านบาทนั้น มีเอ็นพีแอลรวม 3,000 ล้านบาท ในส่วนนี้เอสเอ็มอีแบงก์มี 6 โครงการ และเอ็นพีแอลเกือบ 2,700 ล้านบาท กำลังเร่งจัดทำเอกสารซึ่งต้องใช้เวลาในการรวบรวม คาดว่าจะได้รับค่าชดเชยความเสียหายคืนเมื่อสิ้นสุดโครงการในปี 2559 นอกจากนี้ ธนาคารได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการสินเชื่อเพื่อประกอบกิจการโครงการ กันตนา มูฟวี่ มอลล์ กับบริษัท เอเชีย ซีนีม่า เน็ตเวิร์ค จำกัด เพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์และแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการนี้ โดยธนาคารจะให้เงินกู้ระยะยาวแก่ผู้ประกอบการเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการประกอบกิจการไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อราย และมีระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยที่เอ็มแอลอาร์บวก
ที่มา มติชน