เปิดมาตรการอุ้มเอสเอ็มอีแห่งชาติ

หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ยกปัญหาของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ขึ้นมาเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีชื่นใจว่ารัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงปลอบใจไปวันๆ

 




    หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ยกปัญหาของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ขึ้นมาเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีชื่นใจว่ารัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงปลอบใจไปวันๆ
              

    ความสำคัญของเอสเอ็มอีที่นายกฯ ยังมองเห็น คือ มีผู้ประกอบการมากกว่า 2.75 ล้านราย มีการจ้างงานกว่า 11.7 ล้านคน คิดเป็น 80.4% ของการจ้างงานทั้งหมด มีมูลค่าประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 37% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)

    หลังจากลากเรื่องมานานและมีข้อเสนอจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหลายประการให้รัฐช่วยเหลือเอสเอ็มอี ในขณะนี้ สมหมาย ภาษี รมว.คลัง ได้จี้ให้เร่งรัดการดำเนินการให้เร็วขึ้น และให้หามาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นการช่วยเหลืออย่างแท้จริงและนำไปปฏิบัติได้

    รมว.คลัง กล่าวว่า มาตรการที่ออกมาช่วยจะต้องเป็นมาตรการผ่อนปรน คือ กรมสรรพากรจะต้องออกมาตรการนิรโทษกรรมทางภาษีให้เอสเอ็มอีที่เข้าโครงการนี้ ไม่เข้าสอบบัญชีย้อนหลัง ให้สมาคมจัดการบัญชีจัดทำโปรแกรมทำบัญชีเพื่ออำนวยความสะดวกให้เอสเอ็มอีกรอกข้อมูลบัญชีและภาษี เนื่องจากพบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่เอสเอ็มอีเลี่ยงภาษี เพราะไม่มีความรู้ทางบัญชี แก้ไขปัญหาเอสเอ็มอีทำบัญชี 2 เล่ม

    สิ่งที่รัฐจะช่วยเหลือ ได้แก่ มาตรการสินเชื่อเพื่อผูู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชนเข้าร่วมโครงการ มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เอสเอ็มอีที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท หากมีกำไรสุทธิไม่เกิน 3 แสนบาท ไม่ต้องเสียภาษี มีกำไรสุทธิ 3 แสนบาท จนถึง 3 ล้านบาท เสียภาษี 15% เดิมเสียภาษี 20% หากมีกำไรสุทธิ 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 20% และมาตรการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน หรือเวนเจอร์แคปปิตอล วงเงิน 1-2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีในกลุ่มที่มีศักยภาพ

    "ให้ไปคิดมาตรการใหม่เพื่อดึงเอสเอ็มอีเข้าระบบให้ได้ ใครที่เข้าระบบก็จะได้สิทธิตัวอื่นตามมาด้วย เป้าหมายคือเพิ่มให้ได้อีก 85% จะทำให้ฐานภาษีเพิ่มมากขึ้น เมื่อฐานเพิ่มมากขึ้น ก็อาจจะลดภาษีให้เอสเอ็มอีเหลือแค่ 10-20% ก็ได้ เรื่องนี้สั่งให้ลองทำกันสัก 6 เดือน ถ้าสำเร็จจะต้องรายงานให้ ครม.ทราบเป็นแพ็กเกจต่อไป"สมหมาย กล่าว


    ทางด้าน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ได้ร่วมประชุมกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ ก็เห็นอุปสรรคของเอสเอ็มอีอยู่ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้เอสเอ็มอีมาเลเซียอยู่ที่ 3% กว่าๆ แต่ของไทยสูงถึง 7% กว่าๆ อย่างนี้เอสเอ็มอีไทยเราจะดีขึ้นได้อย่างไรในเมื่อต้นทุนสูงกว่าเขา ต้องกลับไปทบทวนเรื่องนี้ด้วย

    ทั้งนี้ ในสิ้นปีนี้ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียนจะมีผลบังคับใช้แล้ว ภูมิศาสตร์จะเปลี่ยนใหม่หมด เราต้องเร่งปรับตัว เอกชนรายใหญ่ไม่น่าห่วง แต่ห่วงกว่า 90% ของบริษัททั้งหมดในประเทศไทยเป็นเอสเอ็มอีที่มีคน มีทุน จำกัด จะเปลี่ยนตัวเองยาก ช่วงนี้ก็ลำบาก จะตายไม่ตายแหล่ คงจะปรับตัวยากถ้าไม่ช่วยเลย</p>
    
    "เมื่อวานผมประชุมร่วมกับ พล.อ.ประวิตร ก็เห็นอุปสรรคอยู่ ดังนั้นรัฐบาลจะออกมาตรการสนับสนุนเอสเอ็มอีทำเป็นแพ็กเกจใหม่โฟกัสไปที่ต้นทุนเงินกู้เอสเอ็มอีไทยที่สูงกว่าต่างชาติ และเราจะแข่งกับเขาอย่างไร" สมคิด กล่าว

    อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องเร่งปรับตัวช่วยเหลือตัวเอง แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งศึกษาและปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย ในเรื่องการปรับตัวเพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น</p>

    อยากให้ดูตัวอย่างประเทศมาเลเซีย เพราะรัฐบาลเขาแจกโจทย์ให้แก้ไขจุดอ่อนในแต่ละเสาหลักของเศรษฐกิจ และมีการประชุมร่วมกับภาคเอกชน เพราะเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ติดขัดอะไรต้องถามเขาด้วย ทำให้มาเลเซียแก้ไขจุดอ่อนได้เร็ว ซึ่งเรื่องนี้ได้เสนอในการประชุมพัฒนาขีดความสามารถที่ผ่านมาไปแล้ว เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหัวเรือใหญ่ในการทำเรื่องนี้


ที่มา www.posttoday.com

NEWS & TRENDS