​คลังคาด พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบังคับใช้ใน 1-2 ปี

"สมหมาย" รมว.คลัง แจงคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ สปช. ยืนยัน พร้อมเดินหน้า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คาดบังคับใช้ 1-2 ปีข้างหน้า



    "สมหมาย" รมว.คลัง แจงคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ สปช. ยืนยัน พร้อมเดินหน้า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คาดบังคับใช้ 1-2 ปีข้างหน้า

    นายสมชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้เชิญนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงแผนปฏิรูปภาษีต่อที่ประชุม ซึ่งกระทรวงการคลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า แต่จะสรุปให้ได้ก่อนในสัปดาห์หน้า จากนั้นจะเสนอสภานิติบัญญัตแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาและลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ก่อนบังคับใช้จริง เพราะต้องรอการประเมินที่ดินรายแปลงจากกรมธนารักษ์ โดยต้องใช้เวลาประเมินที่ดิน 1 ปีครึ่งในการประเมินที่ดินรายแปลงทั้งประเทศ คาดว่าสร้างรายได้เข้ารัฐประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี จากปัจจุบันจัดเก็บภาษีโรงเรือนได้ประมาณ 25,000 ล้านบาท 

    สำหรับภาษีการรับมรดก และภาษีมรดก อยู่ระหว่างการพิจารณากรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่าจะสรุปร่วมกันได้และผ่านสภาได้ในอีก 4 สัปดาห์ข้างหน้า

    ทั้งนี้ ในเบื้องต้น กระทรวงการคลัง ได้กำหนดเพดานภาษี คือ ที่ดินเกษตรเพดานร้อยละ 0.25 ที่อยู่อาศัยเพดานจัดเก็บร้อยละ 0.5 ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ร้อยละ 2 และที่ดินรกร้างว่างเปล่าเพดานจัดเก็บร้อยละ 2 ส่วนแนวคิดการจัดเก็บจริงเบื้องต้นได้ยกเว้นเสียภาษีให้กับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทที่ไม่ต้องเสียภาษี 

    ส่วนที่อยู่อาศัยราคา 1-3 ล้านบาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 0.1 และยังได้รับการลดหย่อนภาษีร้อยละ 50 หมายความว่า บ้านราคา 1 ล้านบาทได้รับการยกเว้นภาษี หากบ้านราคา 3 ล้านบาท ลดให้ครึ่งหนึ่งจึงจ่ายเพียง 1,500 บาท ส่วนที่อยู่อาศัยที่มีราคาเกิน 3 ล้านบาท เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.1 หากคำนวณจากราคาบ้าน 1 ล้านบาทเสียภาษี 1,000 บาท เพิ่มในสัดส่วนที่สูงขึ้นตามราคาประเมินไม่ใช่ราคาตลาด สำหรับราคาบ้านต้องขอพิจารณาให้ชัดเจนอีกครั้งเพราะอาจขยับราคายกเว้นเพิ่มเป็น 1.5 ล้านบาท สำหรับกรอบที่หารือทั้งหมดต้องพิจาณาให้รอบคอบเพื่อไม่ให้รายย่อย เกษตรกรรับผลกระทบมากจนเกินไป 

    สำหรับที่ดินรกร้างว่างเปล่ากำหนดอัตราจัดเก็บในขั้นแรก คือร้อยละ 0.5 หลังจากนั้นจะเพิ่มอีก 1 เท่าทุก 3 ปี แต่สูงสุดต้องไม่เกินร้อยละ 2 ตามเพดานที่กำหนดไว้ ด้วยการออกกฎหมายลูกบังคับใช้ เพื่อประกาศอัตราการจัดเก็บทุกประเภทใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดเปิดทางให้หักค่าเสื่อมสำหรับสิ่งปลูกสร้าง มีกำหนดไว้ 69 แบบ อาทิ บ้านไม้ สามารถหักค่าเสื่อมได้สูงสุดถึงร้อยละ 93 ในปีที่ 19 ส่วนอาคารคอนกรีต (ตึก) หักค่าเสื่อมได้สูงสุดร้อยละ 76 ในปีที่ 43 อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้หักค่าเสื่อมได้สูงสุดร้อยละ 85 ในปีที่ 22 เป็นต้น รวมทั้งยังต้องกำหดนเพดานการเสียภาษีเป็นแบบขั้นบันได ด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้ผู้รับมรดกรับภาระมากจนเกินไป 

    
ที่มา www.bangkokbiznews.com

NEWS & TRENDS