รายงานข่าวแจ้งว่า นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังหารือกับนายทาคาอะกิ ยามาโมโตะ ประธานกรรมการบริษัท ไดกิ อลูมิเนียม อินดัสทรี(ประเทศไทย) บริษัทอันดับ 1 ใน 5 ของผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่ที่สุดของโลก
รายงานข่าวแจ้งว่า นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังหารือกับนายทาคาอะกิ ยามาโมโตะ ประธานกรรมการบริษัท ไดกิ อลูมิเนียม อินดัสทรี(ประเทศไทย) บริษัทอันดับ 1 ใน 5 ของผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่ที่สุดของโลก
สำหรับ บริษัท ไดกิฯ เป็นบริษัทผู้ผลิตอลูมิเนียมอัลลอยด์ อลูมิเนียมแท่ง ซึ่งเป็นวัสดุตั้งต้นให้กับอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ (Tier 1/2/3) เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น
"บริษัท ไดกิฯ ได้มายืนยันว่าจะยังคงรักษาฐานการผลิต รวมทั้งขยายกำลังการผลิตในไทยต่อไป โดยบริษัทฯ มีโรงงานแห่งแรกตั้งอยู่ที่นิคมฯอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ประกอบกิจการรีไซเคิลเศษอลูมิเนียม โดยนำเข้าสู่กระบวนการผลิตอลูมิเนียมอัลลอยด์ (Aluminium Alloy) และรีไซเคิลถุงตะกรันอลูมิเนียม (Aluminium Dross) จากโรงหลอมอื่นๆ กำลังผลิตปีละ 90,000 ตัน และโรงงานแห่งที่สองที่นิคมฯอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ประกอบกิจการหลอมอลูมิเนียมแท่งเช่นเดียวกับโรงงานแห่งแรก
ซึ่งโรงงานแห่งนี้มีการหลอมอลูมิเนียมในรูปอลูมิเนียมเหลวและส่งไปยังลูกค้าโดยตรงซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ โดยโรงงานแห่งนี้เริ่มดำเนินงานอย่างเต็มรูปแบบเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยมีกำลังการผลิตในระยะแรกอยู่ที่ 1,500 ตัน/เดือน และอยู่ระหว่างขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 48 ตัน/วัน เป็น 200 ตันต่อวัน ภายในปี 2559 เพื่อรองรับการเติบโตของอุตฯยานยนต์ของไทยในอนาคต ซึ่งยืนยันว่าจะลงทุนในไทยต่อไป”
นายจักรมณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุดโรงงานที่นิคมอุตฯ อมตะนครได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) ให้ดำเนินโครงการทดลองนำตะกรันส่วนที่เหลือจากการหลอมอลูมิเนียม(Dross) ที่จัดเป็นของเสียอันตรายที่เกิดจากการรีไซเคิลรอบแรก มาทดลองใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ซึ่งการเติมตะกรันอลูมิเนียมส่วนที่มีการควบคุมคุณภาพแล้ว สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของโรงถลุงเหล็กลงได้ ร้อยละ 8 สามารถเพิ่มผลผลิต(Yields) เหล็กได้ประมาณ ร้อยละ 1.5 ซึ่ง นอกจากเป็นการประหยัดเชื้อเพลิงในการถลุงเหล็กแล้ว ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสีย ช่วยลดมลพิษ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์