นายยรรยง คุโรวาท นายกสมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ 8 สมาคม ได้ร่วมกันยื่นหนังสือขอรับความคุ้มครองถึงคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ขอให้เร่งดำเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ (Surcharge) การนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ตามมาตร..
นายยรรยง คุโรวาท นายกสมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ 8 สมาคม ได้ร่วมกันยื่นหนังสือขอรับความคุ้มครองถึงคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ขอให้เร่งดำเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ (Surcharge) การนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ตามมาตรา 49 ซึ่งยืนยันว่า นโยบายการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษนี้ จะไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับสินค้าที่มีการใช้มาตรการทางการค้า (Anti-dumping และ Safeguard) ซึ่งได้รับการปกป้องอยู่แล้วอย่างแน่นอน การร้องขอมาตรการคุ้มครองโดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษใน
ครั้งนี้สำหรับสินค้าที่ยังไม่มีมาตรการทางการค้าและมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศจริงๆ เท่านั้น
“สำหรับสินค้าที่มีการใช้มาตรการทางการค้าที่มีการยื่นเรื่องไปยังกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กขอให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเร่งรัดการพิจารณาโดยเร็ว เพราะขั้นตอนปกติใช้เวลาในการพิจารณามากกว่า 1 ปี ไม่สามารถต้านทานการทะลักของสินค้านำเข้า ทั้งในรูปแบบปกติและหลบเลี่ยงมาตรการที่ปริมาณเพิ่มสูงขึ้นและรูปแบบการหลีกเลี่ยงก็มีหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นได้”
นายบรรยงกล่าวอีกว่าปัญหาเหล็กนำเข้าเหล็กยังส่งผลให้การใช้กำลังการผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศเหลือน้อยกว่า 40% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของอุตสาหกรรมในอนาคตอันใกล้
ด้าน ดร.เภา บุญเยี่ยม เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เปิดเผยว่า ผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนมาจากจีนเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้ามาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากกำลังการผลิตส่วนเกินของจีนมีปริมาณมาก สมาคมฯ จึงขอวิงวอนให้ภาครัฐมีมาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยงดังกล่าว รวมทั้งมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนและมาตรการเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย
“เหล็กนำเข้าดังกล่าวมีการเจือสารโบรอนและโครเมียมเข้าไปในเนื้อเหล็ก ทั้งที่ไม่มีประโยชน์ในการใช้งานก่อสร้างและอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่เจตนาเจือสารดังกล่าวเป็นไปเพื่อเลี่ยงพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น ทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีจำนวนมากในแต่ละปี ในขณะเดียวกันก็ไม่สนใจว่า สารโบรอนหรือโครเมียมที่เจือไปในเนื้อเหล็กนั้น จะมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่”เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนกล่าว
ที่มา http://www.naewna.com/business/160410