เอกชนยัน ก.คลังต้องขยายวงเงินให้บสย.ค้ำ 30% เผยต้องกู้ชีพเอสเอ็มอีก่อน ถามไหนว่าปีหน้าเศรษฐกิจดี เดินหน้าแจกคูปองนวัตกรรม ระยะ2 ช่วยเงินลงทุน“
เอกชนยัน ก.คลังต้องขยายวงเงินให้บสย.ค้ำ 30% เผยต้องกู้ชีพเอสเอ็มอีก่อน ถามไหนว่าปีหน้าเศรษฐกิจดี เดินหน้าแจกคูปองนวัตกรรม ระยะ2 ช่วยเงินลงทุน“
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีนายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ไม่เห็นด้วยแนวทางที่ภาคเอกชนเสนอให้ภาครัฐ ขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อผ่านบรรษัทประกันสินเชื่อขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) จาก 18% เป็น 30% ว่า ส่วนตัวมองว่า เมื่อรัฐบาลประเมินว่า เศรษฐกิจปีหน้าจะปรับตัวดีขึ้น ดังนั้นน่าจะเป็นเหตุผลให้ขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อได้ เนื่องจากไม่ได้ขอขยายวงเงินกู้ โดยเชื่อว่า หากขยายวงเงินค้ำประกันเป็น 30 % จะช่วยให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ปล่อยเงินกู้ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น
“เมื่อปีน้ำท่วมภาครัฐ ยังเคยให้บสย.ขยายวงเงินค้ำประกันจาก 18% เป็น 30% ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ สามารถกู้เงิน และนำมาฟื้นกิจการได้เร็วขึ้น อย่างสถานการณ์ตอนนี้ ถือเป็นช่วงวิกฤติการขอสินเชื่อของภาคเอสเอ็มอี จึงมองว่า เรื่อง 30% มีความจำเป็นต้องใช้ ในระยะเวลาสั้นๆ ก็ได้ ปีหน้าภาครัฐบอกว่า เศรษฐกิจจะดีขึ้น จึงเชื่อว่าการจ่ายหนี้ไม่น่าจะมีปัญหา”
นอกจากนี้ ส.อ.ท. ได้ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการคูปองนวัตกรรมเพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของเอสเอ็มอีไทยไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระยะที่ 2 ภายใต้งบประมาณ 500 ล้านบาท โดยให้เงินสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายละไม่เกิน 1.5 ล้านบาท คิดเป็น 25% ของเงินลงทุนรวม ส่วนที่เหลืออีก 75% ผู้ประกอบการต้องรับภาระเอง เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านนวัตกรรมในกระบวนการผลิตจนสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในเชิงพาณิชย์
โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 250 ราย สามารถต่อยอดโครงการและสร้างเม็ดเงินได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้วสร้างเงินได้ถึง 6 พันล้านบาท ส่วนการลอยตัวค่าแรงขั้นต่ำนั้น เห็นว่า ควรปล่อยให้เรื่องของคณะกรรมการไตรภาคีจังหวัดในแต่ละจังหวัดพิจารณาเองตามความเหมาะสมของสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ ไม่ควรเป็นระดับเดียวกันทั้งประเทศ เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ สะท้อนได้จากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 จึงเป็นเรื่องยากที่จะปรับขึ้นค่าแรง และคงไม่สามารถระบุได้ว่าระดับค่าแรงสูงสุดควรเป็นเท่าใด ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการภาคเอกชนร่วม 3 สถาบัน (กกร.) รอบถัดไปจะพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
"ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของไตรภาคีจังหวัดที่ต้องหาข้อสรุปกันเองในแต่ละพื้นที่ ไม่อยากให้นำเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพราะคนจ่ายค่าแรงคือ ผู้ประกอบการ ไม่ใช่นักก“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/economic/327130