รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(แบงก์รัฐ)ทั้ง 6 แห่ง ที่รับเงินฝาก ได้แก่ ธนาคารออมสินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไ..
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(แบงก์รัฐ)ทั้ง 6 แห่ง ที่รับเงินฝาก ได้แก่ ธนาคารออมสินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ได้รายงานยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก่อนหักเงินกันสำรอง (NPLGross) ล่าสุดสิ้นเดือนมีนาคม 2558 มีจำนวน 2 แสนล้านบาท แต่เมื่อหักสำรองหนี้เสียแล้วจะเหลือ ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (เอ็นพีแอลสุทธิ) อยู่ที่ 9.65 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้แม้ว่ายอดหนี้เอ็นพีแอลก่อนหักเงินกันสำรอง จะลดลงจากสิ้นปี 2557 ที่อยู่ระดับ 2.01 แสนล้านบาท แต่ยอดเอ็นพีแอลสุทธิ เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่อยู่ระดับ9.47 หมื่นล้านบาท เนื่องจากแบงก์รัฐยังไม่ได้สำรองหนี้ฯเพิ่ม
นอกจากนี้ แบงก์รัฐทั้ง 6 แห่ง ยังมียอดหนี้ที่ผิดนัดชำระตั้งแต่ 1-3 เดือนอีก 1.23 แสนล้านบาท ลดลงจากยอดสิ้นปีก่อนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้ปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้าให้ชำระหนี้กลับมาเป็นปกติได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจากยอดสินเชื่อรวมของแบงก์รัฐทั้ง 6 แห่ง มีจำนวน 4.35 ล้านล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่ประมาณ 2% แต่หากคิดสัดส่วนของ NPLGross จะอยู่ที่ประมาณ 5%
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หนี้เสียของแบงก์รัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นเรื่องปกติ ตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ และภาคแรงงานมีรายได้ที่ลดลง.
ที่มา http://www.naewna.com/business/166165