เอกชนหลังแอ่นจำใจปรับค่าแรงเพิ่มยกแผง

เอกชนบ่นอุบ นโยบายค่าแรง 300 บาท ทำเหตุต้องปรับค่าแรงทั้งระบบ เพื่อรักษาแรงงานฝีมือเอาไว้ เผย 50% เป็นแรงงานต่างด้าว พอเพิ่ม 300 บาท ก็จำต้องเพิ่มทั้งระบบ



เอกชนบ่นอุบ นโยบายค่าแรง 300 บาท ทำเหตุต้องปรับค่าแรงทั้งระบบ เพื่อรักษาแรงงานฝีมือเอาไว้ เผย 50% เป็นแรงงานต่างด้าว พอเพิ่ม 300 บาท ก็จำต้องเพิ่มทั้งระบบ


นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย เปิดเผยว่า นโยบายรัฐบาลในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน กำลังส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรองเท้า เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งแรงงานสูง และกว่า 50% เป็นแรงงานต่างด้าว ฉะนั้นเมื่อแรงงานขั้นต่ำต้องปรับเพิ่มค่าจ้าง จึงจำเป็นต้องเพิ่มค่าแรงให้แก่แรงงานฝีมือตามไปด้วยเพื่อรักษาคนงานเอาไว้ เนื่องจากภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือ ทำให้เกิดการดึงตัวแรงงานสูงขึ้น เพราะการฝึกแรงงานใหม่ต้องใช้เวลา แต่มาตรการของรัฐที่ออกมาดูแลผลกระทบในทางปฏิบัติยังเข้าไม่ถึง

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าผู้ผลิตรองเท้าขาดแคลนแรงงานไทย จึงจำเป็นต้องว่าจ้างต่างด้าวจำนวนกว่าครึ่งซึ่งไม่ใช่แรงงานฝีมือ และเมื่อเพิ่มค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวันให้กับแรงงานเหล่านี้ จึงทำให้แรงงานฝีมีอมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องเพิ่มรายได้ให้ทั้งระบบ ซึ่งความเอกชนจะไม่มีปัญหาอะไรเลย หากรัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงควบคู่กับการพัฒนาฝีมือให้สอดคล้องกัน 

สำหรับเวลาผู้ผลิตรองเท้ากำลังมองหาทางออก คือ การพิจารณาย้ายการลงทุนไปยังแนวตะเข็บชายแดนไทยเพื่อรับแรงงานต่างด้าว หรือย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่าที่เริ่มเปิดประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเมื่อถึงจุดหนึ่งแรงงานต่างด้าวจะย้ายกลับถิ่นฐานเดิม และไทยจะพึ่งแรงงานต่างด้าวไม่ได้อีกต่อไป และในที่สุดธุรกิจรองเท้าไทยจะอยู่ได้เฉพาะในส่วนของการทำเทรดเดอร์เท่านั้น
ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้น 300 บาทต่อวัน นำร่อง 7 จังหวัด และ 40% ในจังหวัดที่เหลือนั้น ยอมรับว่าส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ให้ทุกระบบต้องปรับเพิ่มขึ้น ฉะนั้น อาจไม่จูงใจให้แรงงานขั้นต่ำทำการพัฒนาฝีมือตนเอง เพราะยังคงมีแรงงานฝีมือที่ทำงานอยู่เช่นเดิม ดังนั้น ธุรกิจใดหากหาเครื่องจักรทดแทนได้ ก็คงต้องลงทุนเพิ่ม  แต่ธุรกิจใดที่ยังจำเป็นต้องใช้แรงงาน เชื่อว่าในที่สุดคงจะต้องมองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน



NEWS & TRENDS