ม.หอการค้าไทย ชี้ภัยแล้งซ้ำ ทำส่งออกครึ่งปีหลังดันไม่ขึ้น คาด 7 เดือนหลังมีโอกาสติดลบ2-5% ทำทั้งปีติดลบ 3.8% ต่อเนื่องเป็นปีที่3และต่ำสุดในรอบ 6 ปี เหตุเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และอาเซียนแห่แย่งส่วนแบ่งตลาดแนะปรับโหมดภาคการส่งออกสู่สินค้าเกษตรแปรรูป
ม.หอการค้าไทย ชี้ภัยแล้งซ้ำ ทำส่งออกครึ่งปีหลังดันไม่ขึ้น คาด 7 เดือนหลังมีโอกาสติดลบ2-5% ทำทั้งปีติดลบ 3.8% ต่อเนื่องเป็นปีที่3และต่ำสุดในรอบ 6 ปี เหตุเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และอาเซียนแห่แย่งส่วนแบ่งตลาดแนะปรับโหมดภาคการส่งออกสู่สินค้าเกษตรแปรรูป
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกของไทยในครึ่งหลังปี 2558 คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะติดลบ 3.8% ซึ่งเป็นการติดลบ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 6 ปี จากเดิมคาดการณ์ว่าการส่งออกมีโอกาสติดลบระหว่าง 1.8 - 5.8% มูลค่า 214,358-223,456 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้การส่งออกครึ่งปีหลัง คาดว่าจะ ติดลบ 7.5-0.4% โดยมีมูลค่า 106,561- 115,658 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาดมูลค่าการส่งออก 5 เดือนแรกที่ 88,694 ล้านดอลลาร์สหรัฐติดลบร้อยละ 4.2 โดยแต่ละเดือนจะต้องส่งออกให้ได้มูลค่า ตั้งแต่1.9-1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
"หากจะให้การส่งออกทั้งปีขยายตัว1% นั้นอีก7เดือนจากนี้จะต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 20,158 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากจะให้ได้ 0% ต้องส่งออก 19,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสถิติย้อนหลังมีโอกาสเป็นไปได้แค่ 30% เท่านั้น แต่ถ้าคาดการณ์ส่งออกติดลบที่ 3.8% 7เดือนหลังจากนี้จะต้องส่งออกมูลค่า 18,516 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ"
ด้านตลาดส่งออก ครึ่งปีหลังมีหลายตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แก่สหรัฐขยายตัว1.1% ฮ่องกง 3.3% อเมริกาใต้ 2.8% ขณะที่หลายตลาดยังติดลบต่อเนื่อง เช่นญี่ปุ่นติดลบ2.4% สหภาพยุโรป2.2% จีน7.1% สาเหตุที่ทำให้การส่งออกติดลบสูงเพราะเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัว จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเกิดจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและการRebalancing ของจีน ปัจจัยไทยมีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลง ปัจจัยปัญหากรีซปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและปัญหาราคาสินค้าเกษตรลดลงรวมถึงปัญหาภัยแล้งที่ถือเป็นปัจจัยใหม่ที่กระทบการส่งออก ในส่วนโอกาสของการส่งออกครึ่งปีหลังได้แก่การอ่อนลงของค่าเงินบาทแต่อาจไม่ส่งผลบวกมากนักสหรัฐคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) ให้ไทยและราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง
สำหรับส่วนแบ่งตลาดของไทยพบว่าปี 2557 ที่ผ่านมาอาเซียนใหม่มีส่วนแบ่งตลาด 1.12% เพิ่มขึ้นจาก 0.97% ขณะที่ไทย มีส่วนแบ่ง1.33% ลดลงจาก1.36% โดยมูลค่าการส่งออกของอาเซียนใหม่ที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้แก่เวียดนามโดยปี 2557 มีมูลค่าส่งออกทั่วโลก 1.53 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี2547ที่มีมูลค่า1.8หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯขณะที่ไทยมูลค่า 2.27แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจาก9.6หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ชี้ให้เห็นว่าไทยมีแนวโน้มเสียตลาดให้อาเซียนใหม่(CLMV)โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เน้นแรงงานเป็นหลัก ทั้งนี้แนวทางการส่งออกของไทยจากนี้ต้องปรับฐานจากการส่งออกสินค้าวัตถุดิบสินค้าพื้นฐานไปสู่สินค้าแปรรูปสำหรับสินค้าเกษตรส่วนสินค้าอุตสาหกรรมให้นำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิต
ที่มา : www.thanonline.com