นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับคำขอยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 255 8(มกราคม – มีนาคม 2558) รวม 1,011คำขอ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 31.98 โดยในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 กร..
นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับคำขอยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 255 8(มกราคม – มีนาคม 2558) รวม 1,011คำขอ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 31.98 โดยในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับคำขอยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 766 คำขอ ซึ่งร้อยละ 65 ของคำขอยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นการออกแบบของคนไทย
สำหรับประเภทของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีผู้นำมายื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 ผลิตภัณฑ์ อันดับ1 คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทยานพาหนะ อันดับ 2 การออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทเฟอร์นิเจอร์ อันดับ 3 การออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์ชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้าง อันดับ 4 การออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องมือและเครื่องโลหะ และอันดับ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทวัสดุสิ่งทอ
ซึ่งจากสถิติการรับคำขอยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันนักออกแบบไทยมีผลงานสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น และเล็งเห็นความสำคัญของการคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ในการยกระดับประเทศไทยด้วยการใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และกรมยังส่งเสริมให้นักออกแบบนำผลงานเข้าสู่ระบบการคุ้มครองและปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนานักออกแบบให้สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันทางการค้ากับนานาประเทศ
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญายังเล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุงการให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องดำเนินการให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการ และ SME ของไทย เพื่อให้สามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและทำธุรกิจ รวมทั้งรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงการจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ระยะเวลาคุ้มครองไม่เกิน10ปี
ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาตั้งเป้าที่จะใช้เวลาในการตรวจสอบและรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในกรณีคำขอที่ถูกต้อง ชัดเจนภายใน 12 เดือน จากเดิมที่ใช้เวลาในการรับจดทะเบียน 24เดือน เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของคนไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ที่มา : www.thanonline.com