กพร.ระบุุต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีมีแนวโน้มลดลงเหลือร้อยละ 14 และยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ส่วนผลการลงทุนของ กพร. ในการช่วยเพิ่มองค์ความรู้ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมคุ้มค่าได้ผลตอบแทน 1 ต่อ 13
กพร.ระบุุต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีมีแนวโน้มลดลงเหลือร้อยละ 14 และยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ส่วนผลการลงทุนของ กพร. ในการช่วยเพิ่มองค์ความรู้ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมคุ้มค่าได้ผลตอบแทน 1 ต่อ 13
นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) คาดว่าปีนี้สัดส่วนต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่อจีดีพีประเทศจะลดลงจากร้อยละ 14.2 เหลือประมาณร้อยละ 14 เป็นผลจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐและการปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ทางโลจิสติกส์ในแง่ของการบริหารจัดการต้นทุนให้ลดลง
ส่วน กพร. ประเมินเบื้องต้นว่า ผลจากการดำเนินการเพิ่มองค์ความรู้ในการบริหารจัดการให้ต้นทุนโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลงแก่ภาคอุตสาหกรรมในช่วงปี 2556-2558 สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 10,000 ล้านบาท และคาดว่าปีงบประมมาณ 2559 ผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกเพิ่มขึั้นอีก 3,000 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมตั้งแต่ปีงบ 2556-2559 สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพิ่มเป็น 13,000 ล้านบาท นับว่าน่าพอใจภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร รวมประมาณ 340 ล้านบาทเท่านั้น
โดยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการประมาณร้อยละ 75 เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือ SMEs ที่เหลืออีกร้อยละ 25 เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยผลการช่วยเหลือเพิ่มองค์ความรู้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์นี้ นับว่าคุ้มค่า เนื่องจากรัฐบาลใช้งบประมาณในการอบรมทุก ๆ 1 บาทได้ผลตอบแทนช่วยประหยัดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศลงถึง 13 บาท
ทั้งนี้ กพร.เชื่อว่าผลจากการเดินหน้าลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศครั้งใหญ่ของรัฐบาลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้อีก ยกระดับขีดความสามารถในการแข่ขันของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ที่มา : http://www.tnamcot.com/content/250097 : สำนักข่าวไทย