กกร.แนะรัฐทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใหม่ รับมือไทยก้าวสู่สังคมสูงวัย

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ได้หารือถึงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)อยู่ระหว่างจัดทำเพื่..



    นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ได้หารือถึงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)อยู่ระหว่างจัดทำเพื่อประกาศใช้เดือน ต.ค. 2559โดยเอกชนได้เสนอให้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนและสอดรับกับการปฏิรูปประเทศไทย

    “ต้องการเห็นแผนฯกำหนดเป้าหมายปฏิบัติทั้งเวลา และแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้มีความต่อเนื่องไม่ว่ารัฐบาลไหนมาการกำหนดนโยบายก็ต้องสอดรับกับแผนพัฒนาฯฉบับที่ 12 นี้เพราะที่ผ่านมาการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนที่ 11 มีน้อยมาก การเมืองมาก็เปลี่ยนนโยบายใหม่ที่ไม่ได้คำนึงถึงแผนพัฒนาฯแต่อย่างใด”นายวัลลภกล่าว

    ทั้งนี้ เป้าหมายของแผนฯต้องการหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง ซึ่งได้กำหนดผลิตภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าเฉลี่ย 2.5% ต่อปี ซึ่งภาคเอกชนเห็นว่า ควรมีการแยกเป้าหมายการขยายตัวเป็นรายภาค เช่น ด้านเกษตรอาหาร การท่องเที่ยว การลงทุน การเงินการธนาคาร โดยเฉพาะการลงทุนต้องการเห็นนโยบายการลงทุนในต่างประเทศอย่างจริงจัง

    นอกจากนี้ ภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญประเด็นกับการพัฒนาด้านการศึกษา และแรงงานเนื่องจากไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งจะเกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในวัยทำงาน ขณะเดียวกันแรงงานของไทยมีแนวโน้มจะพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวมากขึ้นแต่แรงงานต่างด้าวเหล่านี้มีแนวโน้ม
ที่จะเคลื่อนย้ายกลับถิ่นลำเนาได้ง่ายหากประเทศเพื่อนบ้านมีการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น

    “เวลานี้ไทยเองต้องยอมรับว่าพึ่งแรงงานต่างด้าวพอสมควรเราคาดว่าอีก 4 ปี แรงงานต่างด้าวเหล่านี้จะทยอยกลับประเทศ เพราะเชื่อว่าการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) จะทำให้เศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านมีการพัฒนาแรงงานเหล่านี้ก็จะถูกดึงกลับไป การพัฒนาแรงงานของไทยจะต้องโฟกัสให้ดี”

    นายวัลลภกล่าวว่า สำหรับประเด็นการศึกษาที่ต้องมุ่งพัฒนาทักษะที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะด้านภาษา เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศต้องพัฒนาระบบการศึกษาที่ตอบโจทย์การพัฒนาแรงงานของประเทศควบคู่ไปด้วยเพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วเพราะปัจจุบันระบบการศึกษาไทยไม่สามารถพัฒนาแรงงานตรงความต้องการของตลาดแรงงานได้เท่าที่ควร

 ที่มา แนวหน้า

 

NEWS & TRENDS