เตือน SME เปิด AEC ระวังมาตรการกีดกันการค้า

SCB IEC เตือน SME แม้เปิดเสรการค้าไร้ภาษีจริง แต่ระวังมาตรการกีดกันการค้ายังมีอยู่ ซึ่งเป็นก้างชิ้นใหญ่ อาจมากว่าภาษีด้วยซ้ำ จนแนวโน้มการค้าเพิ่มขึ้นได้ไม่เร็วอย่างที่คาดไว้



SCB IEC เตือน SME แม้เปิดเสรการค้าไร้ภาษีจริง แต่ระวังมาตรการกีดกันการค้ายังมีอยู่ ซึ่งเป็นก้างชิ้นใหญ่ อาจมากว่าภาษีด้วยซ้ำ จนแนวโน้มการค้าเพิ่มขึ้นได้ไม่เร็วอย่างที่คาดไว้

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีภายใต้ AEC จะลดอัตรภาษีนำเข้าไปแล้ว แต่อุปสรรคในด้านมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษียังคงมีอยู่ ซึ่งหลายประเทศมีการออกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จนอาจส่งผลให้ธุรกิจยังใช้โอกาสและประโยชน์จากตลาดอาเซียนได้ไม่เต็มที่นัก

ทั้งนี้ 8 มาตรการกัดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีหลักๆที่เอสเอ็มอีต้องรู้ คือ1. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD) ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติ โดยอ้างว่ามีการทุ่มตลาดจากบริษัทผู้ส่งออกมายังประเทศผู้นำเข้า 2. มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Counter-Vailing Duty : CVD) ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุนเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติโดยอ้างว่า สินค้านำเข้าได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลประเทศที่ผลิตสินค้านั้นๆ
 
        3. มาตรการปกป้องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรปกป้องเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติได้ โดยอ้างว่ามีการนำเข้าที่ผิดปกติ ทั้งในรูปของการนำเข้ามาของสินค้าในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือมีการนำเข้ามาในราคาที่ต่ำกว่าปกติ 

4. มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary : SPS) การใช้มาตรฐานเรื่อง SPS ที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคต่อสินค้านำเข้าในเชิงพาณิชย์ 5. มาตรการอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barrier to Trade :TBT): กำหนดมาตรฐานทางการค้า เช่น การกำหนดการติดฉลากและบรรจุภัณฑ์ที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคต่อสินค้านำเข้าในเชิงพาณิชย์
 
        6. มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น นำเรื่อง ปัญหาโลกร้อน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า 7. มาตรการด้านแรงงาน ตัวอย่างเช่น สินค้านำเข้า ต้องไม่ได้ผลิตโดยเด็กหรือนักโทษ เป็นต้น และ 8. NTB รูปแบบอื่นๆ เช่น การจัดซื้อโดยรัฐ การผูกขาดการนำเข้า การกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น



 

NEWS & TRENDS