กสอ. ยกระดับ แพน อินเตอร์ฟู้ดส์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตขึ้น 10% หลังเข้าร่วมโครงการ Consultancy Fund พร้อมเชิญชวน SME ที่เจอปัญหาด้านการบริหารเข้าร่วมโครงการเพราะช่วยแก้จุดอ่อน สร้างจุดแข็งให้ธุรกิจได้จริง

กสอ. ยกระดับ แพน อินเตอร์ฟู้ดส์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตขึ้น 10% หลังเข้าร่วมโครงการ Consultancy Fund พร้อมเชิญชวน SME ที่เจอปัญหาด้านการบริหารเข้าร่วมโครงการเพราะช่วยแก้จุดอ่อน สร้างจุดแข็งให้ธุรกิจได้จริง
นายพจนา เกตุมาลา ผู้จัดการโรงงาน บริษัท แพน อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายอาหารแปรรูปพืชผัก ผลไม้การเกษตรเพื่อการส่งออก เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้ และกะทิบรรจุกระป๋อง มาตั้งแต่ ปี 2536 และได้มีการพัฒนาระบบการผลิต จนได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆตามหลักสากลมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่า มาตรฐาน GMP / HACCP BRC ISSUE 6 IFS ISSUE 6 HALAL และมาตรฐาน SEDEX (Social & Ethical Standard) จากการได้ระบบมาตรฐานในหลายๆระบบแล้ว ยังพบว่าในสายผลิตสินค้านั้นยังประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ อีกทั้งมีการสูญเสียในกระบวนการผลิตสูง
จากปัญหาที่เกิดขึ้น นับว่าเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นบริษัท แพนอินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด จึงได้ขอรับการบริการในกิจกรรมการบริการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการ การตลาดและการบริการ (Consultancy Fund ) หรือกิจกรรม CF ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยทางกิจกรรม CF ได้ช่วยจัดหาที่ปรึกษาที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านมาช่วยสนับสนุน
“สิ่งที่เราต้องการจากการเข้าร่วมกิจกรรม CF คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น 10% และในส่วนความสูญเสียจากกระบวนการผลิต หรือ Yield loss ลดลงอย่างน้อย 35%”

จากการเข้าร่วมกิจกรรรม CF ที่ปรึกษาได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์หาสาเหตุและดำเนินการแก้ไข รวมถึงการให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจและเทคนิคที่ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เช่น การวิเคราะห์กระบวนการผลิต (Process Analysis ) การวิเคราะห์การทำงาน (Operation Analysis ) การวิเคราะห์การทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักร(Man-Machine Chart) เป็นต้น พร้อมๆกับการให้คำปรึกษาแนะนำขั้นตอนการปรับปรุงประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับปัญหาและการจัดทำมาตรฐาน และที่ทำให้เกิดความประทับใจ คือ มีการติดตามและตรวจสอบความคืบหน้าของกิจกรรมและมีการสรุปผลตามระยะเวลา
“ จากการเข้าร่วมในการจัดเก็บและแยกแยะข้อมูล ทำให้เราพบปัญหาและดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะในจุดของการหยุดของเครื่องจักรของ Sceamer เพื่อการเปลี่ยนกรอง ซึ่งกำหนดไว้ ทุกๆ 4 Lot
ที่ปรึกษาได้แนะนำให้ปรับปรุงกระบวนการด้วย ECRS ผลที่ออกมาสามารถลดเวลาการเปลี่ยนกรอง จาก 39 นาทีเหลือ 14 นาทีและทำให้ประสิทธิภาพของเครื่อง Sceamer เพิ่มขึ้น 8% จากเดิมอยู่ที่ 49 % เป็น
53 % รวมถึงการลดงานที่ไม่จำเป็นต้องทำ ส่วนการลดความสูญเสียสูญเปล่าจากกระบวนการผลิต ได้รับข้อแนะนำให้ปรับตั้ง Filler หัวบรรจุ เพื่อลดปริมาณการบรรจุ ส่งผลทำให้จากเดิมที่มี Loss 5.1% ลดลงเหลือเพียง 3.6% เท่านั้น “
“ จากผลสำเร็จที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายของบริษัทฯหลังจากเข้าร่วมกิจกรรม CF ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นกิจกรรมที่ดี เหมาะกับผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาวิธีคิดและแนวทางในการบริหารการผลิต ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตได้จริง อีกทั้งที่ปรึกษาได้ให้ความรู้และแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมดีมาก “ นายพจนา เกตุมาลา กล่าวทิ้งท้าย
www.smethailandclub.com ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อธุรกิจ SME