นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) หรือ สรท. เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออก ว่า ผลจากปัจจัยลบหลายประการที่มีนัยสำคัญในการกดดันการส่งออกของไทยในปี 2558 นี้ คาดว่าการส่งออกในไตรมาส 4 ปี 2558 จะหดตัว 5% ทำให้ประมาณการมูลค่าการส่งออกทั้งปีอยู่ที่ 2..
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) หรือ สรท. เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออก ว่า ผลจากปัจจัยลบหลายประการที่มีนัยสำคัญในการกดดันการส่งออกของไทยในปี 2558 นี้ คาดว่าการส่งออกในไตรมาส 4 ปี 2558 จะหดตัว 5% ทำให้ประมาณการมูลค่าการส่งออกทั้งปีอยู่ที่ 216,150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 5% นับเป็นการหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 ภาคการส่งออกของไทยจะฟื้นตัวขึ้น โดยจะกลับมาขยายตัวประมาณร้อยละ 2 ด้วยมูลค่าการส่งออกประมาณ 220,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากแรงหนุนจากนโยบายของภาครัฐ เช่น การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย และการปรับยุทธศาสตร์การค้าที่น่าจะเริ่มเห็นผล และผลจากเศรษฐกิจโลกในปี 2559 เติบโต 3.6% ตามที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ไว้
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งออก กล่าวถึงผลกระทบต่อไทยจากการรวมกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ว่า จากการประเมินพบว่าส่งผลกระทบกับไทยใน 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1.ผลกระทบต่อสินค้าที่ส่งไปยังตลาดหลักของไทยที่เป็นสมาชิก TPP เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น มาเลเซีย
2.ผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆของไทย เนื่องจากกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่จะได้รับการยกเว้นภาษีตามกรอบ TPP จะต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศสมาชิก TPP ไม่ต่ำว่า 55% จึงมีแนวโน้มสูงว่าญี่ปุ่นอาจจะย้ายฐานการผลิตหรือหันไปขยายการผลิตในประเทศที่เป็นสมาชิก TPP
3.กระทบต่อการลงทุนของไทย เนื่องจากไทยไม่มีแรงจูงใจให้เข้ามาลงทุนผลิตสินค้าเพื่อป้อนตลาดสำคัญอย่างสหรัฐ และประเทศสมาชิก TPP โดยอาจย้ายการลงทุน หรือหันไปขยายฐานการลงทุนไปเวียดนาม มาเลเซีย และไทยจะเสียเปรียบมากขึ้น เพราะหากประเทศคู่แข่งอย่าง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เข้าร่วมกลุ่ม TPP จะยิ่งทำให้ศักยภาพการแข่งขันของไทย
ลดลง
ที่มา แนวหน้า